จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

พจนานุกรม หมวด ข

ข...................................พยัญชนะไทยตัวที่ 2 อักษรสูง
ขจร...............................ไม้เถา, ต้นสลิด, ฟุ้งไป (ขจอน)
ขจอก.............................ง่อย, กระจอก, ขาเขยก (ขะ-)
ขจัด...............................จำกัด, ทำลาย
ขจาย.............................เรี่ยราย, แผ่ไป, กระจาย
ขจิต..............................ประดับ, ตกแต่ง
ขจี................................งามสดใส
ขณะ.............................ครู่, ครั้ง, คราว, สมัย (ขะหนะ)
ขด...............................ม้วนเป็นวง
ขน...............................เส้นขึ้นตามผิวหนัง, เอาไป
ข้น...............................มีน้อย, งวด, ขัดสน, อัตคัด
ขนง..............................คิ้ว
ขนด.............................โคนหาง, ลูกบวชจีวร, ขด (ขะหนด)
ขนน.............................หมอนอิง (ขะหนน)
ขนบ.............................แบบอย่าง, แผนระเบียบ, กลีบ
ขนม.............................ของกินพวกของหวาน
ขนอง...........................หลัง (ขะหนอง)
ขนอน..........................ที่ตั้งเก็บอากรการผ่านเขต
ขนัด............................แถว, แนว, หมู่, ลำดับ, ขั้น
ขนัน...........................กัน, บัง, ขวาง, ผูก, รัด
ขนาง..........................กระดาก, อาย
ขนาด..........................กำหนด, อัตรา, เครื่องรดน้ำ
ขนาบ..........................กระหนาบ, ประกอบแน่น, ดุดันเอาเรื่อยมา
                                  ตลอดมา
ขนำ............................กระท่อม (ขะหนำ)
ขนิษฐ์........................ขนิษฐา, น้อง
ขนุน...........................ไม้ผลขนาดกลางถึงใหญ่
ขบ.............................กัดคาบ, รัด, ปวด, เมื่อย, คคิดแก้,
                                 ตรึกตรอง, ไม่เข้ากันสนิท
ขบถ...........................ทรยศ ประทุษร้ายต่อแผ่นดิน
ขบวน.........................กระบวน, กลุ่ม, หมู่, หมวด
ขบวร..........................แต่ง, ประดับ


(เพิ่มเติม)


กรุณาอย่า copy เพื่อนำไปเป็นการค้า

วันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

คำพ้อง หมวด ง

คำพ้อง หมวด ง

ง..................................พยัญชนะตัวที่ ๗ พวกอักษรต่ำใช้สะกดในแม่ กง ฐานเสียง
                                    เกิดจากคอ เรียกว่าวรรค ก.
งอ................................ว. คด,งุ้ม,ไม่ตรง, โค้ง เช่น หัวเราะงอ ว่าหัวเราะจนตัวโค้ง,
                             เรียกหน้าซึ่งแสดงอาการโกรหรือไม่ชอบว่า หน้างอ
งก..........................น. อาการสั่นอย่างคนแก่หนรืออย่างกลัว หรืออย่างหนาวมาก
งก..........................ก. อยากได้จนเกินไป จนระงับใจไม่อยู่
งก..........................น. ไม้รูปคล้ายตะลุมพุก สำหรับควาญท้ายช้างใช้ตีช้าง เมื่อ
                             ต้องการใช้ช้างไปเร็ว เรียกว่า ไม้งก
งบ..........................น. สิ่งเป็นแผ่นกลม ๆ เช่น งบน้ำตาล งบอ้อย
งบ..........................น. ชื่อกับข้าวชนิดหนึ่งคล้ายห่อหมก ห่อด้วยใบไม้แล้วปิ้งไฟ
งบ...........................ก. ปิด, รวม, เช่น งบบัญชี
ง้วน................................น. เรียกสิ่งโอชะของบางสิ่ง เช่น ง้วนดิน คือโอชะของดิน
                                      ง้วนผึ้งคือ ละอองดอกไม้ที่ผึ้งนำมาสะสมไว้ในรัง มีสีเหลือง
                                      รสมัน หอมหวาน
ง้วน...............................น. ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ยางมีพิษ ใบเหมือนใบเงิน ดอกแดง
                                    ต้นเหมือนต้นสลอด, ยาพิษ
งอก..............................ก. เจริญขึ้น, ผลิออก, แตกออก, เพิ่มปริมาณมากขึ้น
งอก..............................น. เรียกต้นอ่อนที่งอกอกจากผล เช่น ผลมะพร้าว ว่า
                                    งอกมะพร้าว
งอย..............................ก. คอย เช่น งอยท่า
งอย..............................ก.  อยู่หมิ่น, ตั้งอยู่หมิ่น, ห้อย
งั่ง.................................น. รูปหล่อด้วยโลหะเหมือนพระพุทธรูป แต่ไม่มีผ้าพาด
                                     เรียกพระพุทธรูปที่ยังไม่ได้ทำพิธีเบิกพระเนตร
งั่ง.................................ว. โง่, ไม่รู้ประสีประสา
งั่ง.................................น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง
งัว..................................น. สัตว์สี่เท้าชนิดหนึ่ง, โคหรือวัวก็เรียก
งัว..................................น. ลูกชายคนที่ ๕ (โบราณ)
งัว..................................น. กระเบื้องมุงหลังคา
งัว..................................น. ไม้ดอกโคนเสา ๒ อัน กันไม่ให้เสาทรุดลงไปในหลุม
                                      






 (มีเพิ่มเติม)
                            

กรุณาอย่า copy เพื่อนำไปเป็นการค้า

วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

คำพ้อง หมวด ฆ

คำพ้อง หมวด ฆ

ฆ..................................พยัญชนะตัวที่ ๖ พวกอักษรต่ำใช้สะกดในแม่ ก กา ฐานเสียง
                                    เกิดจากคอ เรียกว่าวรรค ก.
ค..................................พยัญชนะตัวที่ ๔ พวกอักษรต่ำ ใช้สะกดในแม่กก ฐานเสียง
                             เกิดจากคอ เรียกว่าวรรค ก
                             พยัญชนะตัวที่ ๕ พวกอักษรต่ำ เดี๋ยวนี้ไม่ใช้เขียนคำแล้ว
                             ฐานเสียงเกิดจากคอ เรียกว่าวรรค ก.
ฆน...............................(คะนะ) น. แท่ง, ก้อน
คณะ.............................(คะนะ) น. หมู่, พวก, ภาควิชา, หัวหน้า
ฆ่า................................ก. ทำให้ตาย, ทำลาย
ค่า................................น. คุณประโยชน์ในตัวของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งคิดเป็นเงินไม่ได้,
                                    คุณประโยชน์ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งอาจคำนวณหรือประเมิน
                                    เป็นราคาได้, จำนวนเงินหรือสิ่งที่จ่ายให้หรือรับไป
ข้า................................น. บ่าวไพร่, คนรับใช้
ข้า................................ส. บุรุษที่ ๑ ใช้แทนชื่อผู้พูด
ฆาฎ..............................(โบเลิกใช้) น. การฆ่า, การทำลาย
ฆาฎ..............................(โบ-เลิกใช้) ก. ตี
ฆาต..............................(คาด) น. การฆ่า, การทำลาย
ฆาต..............................(คาด) ก. ตี
โฆษ..............................น. เสียงึกก้อง, เสียงดัง, เสียงสนั่น
โคตร.............................(โคด) น. วงศ์สกุล, เผ่าพนธุ์,ต้นสกุล
 

กรุณาอย่า copy เพื่อนำไปเป็นการค้า

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

สำนวนโวหาร หมวด ก

หมวด ก

* ก ไม่กระดิกหู..... ผู้ที่เรียนหนังสือแล้วไม่รู้ อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
* กงเกวียน กำเกวียน..... ใช้เป็นคำอุปมา หมายถึงเวรสนองเวร กรรม
                                 สนองกรรม ทำแก่ผู้อื่นอย่างไร เขาก็ทำ
                                 แก่ตนอย่างนั้น
* กดหัว..... ทำให้หือไม่ขึ้น
* ก้นกระดก..... ลืมตัวเพราะถูกยกยอ
* ก้นถึงฟาก ปากถึงข้าว..... อยู่กินสุขสบาย
* ก้นรั่ว..... สุรุ่ยสุร่าย มีทางเสียหายมาก
* ก้นหม้อข้าวไม่ทันดำ..... ผัวเมียอยู่กินกันไม่นาน
* ก้นหนัก..... ไม่ยอมกลับง่าย ๆ
* ก้นไปหาร่อง..... จะขอความช่วยเหลือจากใครก็ต้องไปหาเขาถึง
                         ที่พักของเขา
* กบในกะลาครอบ.....มองเห็นโลกในวงแคบ
* กบเลือกนาย.....ต้องการเปลี่ยนผู้บังคับบัญชาเรื่อย ๆ, เป็นคนช่างเลือก
                        จนโดนดี คือ เลือกจนได้สิ่งเลวกว่าเดิม
* กบเฝ้ากอบัว.....โง่ อยู่ใกล้แต่ไม่รู้ค่าของที่ดี
* ก้มหัว..... ยอมอ่อนน้อม ยอมรับนับถือ
* ก้มนักมักซวน..... ทำอะไรเกินความพอดี มักพลาดพลั้ง
* ก้มหน้า..... จำทน เช่น ต้องก้มหน้าทำตามประสายาก
* ก้มตา..... ทำโดยไม่มองดูสิ่งอื่น, ทำโดยตั้งใจ เช่น ้มหน้าก้มตา
                 ทำไปจนกว่าจะสำเร็จ
* กรวดน้ำ, กรวดน้ำ คว่ำกะลา, กรวดน้ำ คว่ำขัน.....ตัดขาดไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย
* กระจอกงอกง่อย.....ยากจนเข็ญใจ
* กระชังหน้าใหญ่..... จัดจ้าน หรือคนที่ชอบออกหน้ารับเสียเอง
* กระชุ่มกระชวย..... มีอาการกระปรี้กระเปร่า, คล่องแคล่ว
                           ดูยังหนุ่มยังแน่น
* กระเชอก้นรั่ว..... สุรุ่ยสุร่าย, ไม่รู้จักเก็บหอมรอมริบ,
                         ชขาดการประหยัด
* กระดิกกระเดี้ย..... ไม่ใคร่ไหว เช่น หากินกระดิกกระเดี้ย
* กระดี่ได้น้ำ..... อาการแสดงความดีอกดีใจตื่นเต้นจนตัวสั่น
* กระดูกขัดมัน..... ยาก, เข้มงวด, ตระหนี่
* กระดูกแข็ง..... ไม่ตายง่าย ๆ
* กระดูกร้อง..... ตายแล้วมีผู้เรียกร้องความเป็นธรรมให้
* กระดูกร้องได้..... ผลสะท้อนของาตกรรมที่ทำให้จับตัวผู้กระทำผิดมา
                          ลงโทษได้ คล้ายกับว่า กระดูกของผู้ตายร้องบอก
* กระดูกสันหลังของชาติ... ส่วนสำคัญที่สุดของชาติ มักหมายถึงชาวนา






แหล่งข้อมูลอ้างอิง : สำนวนโวหารไทยและคำเปรียบเทียบ
โดย : แมงก่ำเบ้อ

(มีเพิ่มเติม)
กรุณาอย่า copy เพื่อนำไปเป็นการค้า

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

คำพ้อง หมวด ฃ

ฃ.................................พยัญชนะตัวที่ ๓ พวกอักษรสูง ฐานเสียงเกิดจาก
                                   คอ อ่านว่า ขอ "ขวด" เดี๋ยวนี้ไม่ใช้เขียนคำแล้ว

ฃ................................พยัญชนะตัวที่ ๒ พวกอักษรสูง ฐานเสียงเกิดจาก
                                   คอ อ่านว่า ขอ "ไข่" ใช้สะกดในแม่กก ในคำที่มาจาก
                                   บาลีและสันสกฤต





------------------------------------------
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : พจนานุกรมคำพ้องไทย
โดย : แมงก่ำเบ้อ






กรุณาอย่า copy เพื่อนำไปเป็นการค้า

คำพ้อง หมวด ข

ขอ................................น. ไม้หรือเหล็กที่งอๆ สำหรับชัก, เกี่ยว, แขวน
                                    หรือสับ, ตาขอก็เรียก
ขอ................................ก. วิงวอน, พูดให้เขาให้สิ่งที่ต้องการ
ขอ................................น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นเหมือนขมิ้นใช้ทำยาสมุนไพรได้


ขด................................ก. ม้วนตัวเป็นวง เช่น ขดลวด, งอหรือทำให้งอ เช่น นอนขด
ขด................................ก. ขยด, เขยิบ, กระเถิบ
ขด................................น. ลักษณะนามเรียกของที่เป็นวง ๆ ว่า ขด


ขน................................น. เรียกสิ่งที่เป็นเส้นขึ้นตามผิวหนังคน, สัตว์ พืช
ขน................................ก. เอาสิ่งของมีจำนวนมากบรรทุก หรือหาบหามจาก
                                     แหล่งหนึ่งไปอีกแห่งหนึ่ง
ขน................................น. ชื่อหญ้าชนิดหนึ่งคล้ายหญ้าปล้้อง, หญ้ากรอบของ
                                     สิ่งของเพื่อยึดให้แน่น


ขัง.................................ก. ให้อยู่ในที่ล้อม, กัก, เก็บไว้

ขังขอก..........................น. ชาวเมือง

ขัณฑ์(ขัน).....................น. ภาค, ตอน, ท่อน, ส่วน, ก้อน, ชิ้น, เขตขัณฑ์
ขัณฑสกร(ขันทดสะกอน)..น.สิ่งที่ให้รสหวานเหมือนน้ำตาล, ดีน้ำตาล,
                                      เครื่องยาไทยชนิดหนึ่งคล้ายน้ำตาลกรวด
ขัณฑสีมา.....................น. เขตแดนส่วนหนึ่ง ๆ, เขตแดน, พรมแดน

ขัด................................ก. ทำให้ติดขวางไว้ไม่ให้หลุดออก, ไม่ทำตาม,
                                     ฝ่าฝืน, ขืนไว้, แย้งกันไม่ลงรอยกัน, ถูให้เกลี้ยง
                                     ถูให้ผ่องใส, ไม่ค่อยดี, ฝืดเคืองไม่ปกติ
ขัดเกลา........................ก. ทำให้เกลี้ยงเกลา, ทำให้เรียบร้อย, อบรมสั่งสอน
ขัดขวาง.......................ก. ทำให้ไม่สะดวก, ติดขัด
ขัดข้อง.........................ก. ไม่ยอมให้ทำ, ไม่ตกลงด้วย, ไม่ยินยอม
ขัดขืน...........................ก. ไม่ประพฤติตาม, ไม่ทำตาม
ขัดเขิน..........................ก. กระดากอาย, เขินอาย
ขัดคอ...........................ก. พูดแย้งเข้ามา, ไม่ให้ทำได้สะดวก
ขัดเคือง........................ก. โกระเพราะถูกขัดใจ
ขัดแค้น.........................ก. เจ็บใจอยู่ไม่หาย
ขัดจังหวะ......................ก. แทรกเข้ามาเพื่อไม่ให้พูดหรือทำได้โดยสะดวก
ขัดใจ............................ก. โกระเพราะทำไม่ถูกใจ, ไม่ยอมทำตามใจ
ขัดดอก.........................ก. ส่งลูกหรือเมียให้รับใช้แทนการส่งดอกเบี้ย
ขัดตาทัพ......................ก. ยกทัพไปตั้งชั่วคราวป้องกันไม่ให้ข้าศึกรุกเข้ามา,
                                     แก้ไขไปพลาง ๆ ก่อน
ขัดแตะ.........................ก. เรือนที่มีฝาเป็นไม้ไผ่ซีดสอดขัดกันกับลูกตั้ง
ขัดเบา..........................ก. ถ่ายปัสสาวะไม่ค่อยออกเพราะระบบขับถ่าย










(มีเพิ่มเติม)