* ก ไม่กระดิกหู..... ผู้ที่เรียนหนังสือแล้วไม่รู้ อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
* กงเกวียน กำเกวียน..... ใช้เป็นคำอุปมา หมายถึงเวรสนองเวร กรรม
สนองกรรม ทำแก่ผู้อื่นอย่างไร เขาก็ทำ
แก่ตนอย่างนั้น
* กดหัว..... ทำให้หือไม่ขึ้น
* ก้นกระดก..... ลืมตัวเพราะถูกยกยอ
* ก้นถึงฟาก ปากถึงข้าว..... อยู่กินสุขสบาย
* ก้นรั่ว..... สุรุ่ยสุร่าย มีทางเสียหายมาก
* ก้นหม้อข้าวไม่ทันดำ..... ผัวเมียอยู่กินกันไม่นาน
* ก้นหนัก..... ไม่ยอมกลับง่าย ๆ
* ก้นไปหาร่อง..... จะขอความช่วยเหลือจากใครก็ต้องไปหาเขาถึง
ที่พักของเขา
* กบในกะลาครอบ.....มองเห็นโลกในวงแคบ
* กบเลือกนาย.....ต้องการเปลี่ยนผู้บังคับบัญชาเรื่อย ๆ, เป็นคนช่างเลือก
จนโดนดี คือ เลือกจนได้สิ่งเลวกว่าเดิม
* กบเฝ้ากอบัว.....โง่ อยู่ใกล้แต่ไม่รู้ค่าของที่ดี
* ก้มหัว..... ยอมอ่อนน้อม ยอมรับนับถือ
* ก้มนักมักซวน..... ทำอะไรเกินความพอดี มักพลาดพลั้ง
* ก้มหน้า..... จำทน เช่น ต้องก้มหน้าทำตามประสายาก
* ก้มตา..... ทำโดยไม่มองดูสิ่งอื่น, ทำโดยตั้งใจ เช่น ้มหน้าก้มตา
ทำไปจนกว่าจะสำเร็จ
* กรวดน้ำ, กรวดน้ำ คว่ำกะลา, กรวดน้ำ คว่ำขัน.....ตัดขาดไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย
* กระจอกงอกง่อย.....ยากจนเข็ญใจ
* กระชังหน้าใหญ่..... จัดจ้าน หรือคนที่ชอบออกหน้ารับเสียเอง
* กระชุ่มกระชวย..... มีอาการกระปรี้กระเปร่า, คล่องแคล่ว
ดูยังหนุ่มยังแน่น
* กระเชอก้นรั่ว..... สุรุ่ยสุร่าย, ไม่รู้จักเก็บหอมรอมริบ,
ชขาดการประหยัด
* กระดิกกระเดี้ย..... ไม่ใคร่ไหว เช่น หากินกระดิกกระเดี้ย
* กระดี่ได้น้ำ..... อาการแสดงความดีอกดีใจตื่นเต้นจนตัวสั่น
* กระดูกขัดมัน..... ยาก, เข้มงวด, ตระหนี่
* กระดูกแข็ง..... ไม่ตายง่าย ๆ
* กระดูกร้อง..... ตายแล้วมีผู้เรียกร้องความเป็นธรรมให้
* กระดูกร้องได้..... ผลสะท้อนของาตกรรมที่ทำให้จับตัวผู้กระทำผิดมา
ลงโทษได้ คล้ายกับว่า กระดูกของผู้ตายร้องบอก
* กระดูกสันหลังของชาติ... ส่วนสำคัญที่สุดของชาติ มักหมายถึงชาวนา
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : สำนวนโวหารไทยและคำเปรียบเทียบ
โดย : แมงก่ำเบ้อ
(มีเพิ่มเติม)
กรุณาอย่า copy เพื่อนำไปเป็นการค้า