จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

สำนวนโวหาร หมวด ก

หมวด ก

* ก ไม่กระดิกหู..... ผู้ที่เรียนหนังสือแล้วไม่รู้ อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
* กงเกวียน กำเกวียน..... ใช้เป็นคำอุปมา หมายถึงเวรสนองเวร กรรม
                                 สนองกรรม ทำแก่ผู้อื่นอย่างไร เขาก็ทำ
                                 แก่ตนอย่างนั้น
* กดหัว..... ทำให้หือไม่ขึ้น
* ก้นกระดก..... ลืมตัวเพราะถูกยกยอ
* ก้นถึงฟาก ปากถึงข้าว..... อยู่กินสุขสบาย
* ก้นรั่ว..... สุรุ่ยสุร่าย มีทางเสียหายมาก
* ก้นหม้อข้าวไม่ทันดำ..... ผัวเมียอยู่กินกันไม่นาน
* ก้นหนัก..... ไม่ยอมกลับง่าย ๆ
* ก้นไปหาร่อง..... จะขอความช่วยเหลือจากใครก็ต้องไปหาเขาถึง
                         ที่พักของเขา
* กบในกะลาครอบ.....มองเห็นโลกในวงแคบ
* กบเลือกนาย.....ต้องการเปลี่ยนผู้บังคับบัญชาเรื่อย ๆ, เป็นคนช่างเลือก
                        จนโดนดี คือ เลือกจนได้สิ่งเลวกว่าเดิม
* กบเฝ้ากอบัว.....โง่ อยู่ใกล้แต่ไม่รู้ค่าของที่ดี
* ก้มหัว..... ยอมอ่อนน้อม ยอมรับนับถือ
* ก้มนักมักซวน..... ทำอะไรเกินความพอดี มักพลาดพลั้ง
* ก้มหน้า..... จำทน เช่น ต้องก้มหน้าทำตามประสายาก
* ก้มตา..... ทำโดยไม่มองดูสิ่งอื่น, ทำโดยตั้งใจ เช่น ้มหน้าก้มตา
                 ทำไปจนกว่าจะสำเร็จ
* กรวดน้ำ, กรวดน้ำ คว่ำกะลา, กรวดน้ำ คว่ำขัน.....ตัดขาดไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย
* กระจอกงอกง่อย.....ยากจนเข็ญใจ
* กระชังหน้าใหญ่..... จัดจ้าน หรือคนที่ชอบออกหน้ารับเสียเอง
* กระชุ่มกระชวย..... มีอาการกระปรี้กระเปร่า, คล่องแคล่ว
                           ดูยังหนุ่มยังแน่น
* กระเชอก้นรั่ว..... สุรุ่ยสุร่าย, ไม่รู้จักเก็บหอมรอมริบ,
                         ชขาดการประหยัด
* กระดิกกระเดี้ย..... ไม่ใคร่ไหว เช่น หากินกระดิกกระเดี้ย
* กระดี่ได้น้ำ..... อาการแสดงความดีอกดีใจตื่นเต้นจนตัวสั่น
* กระดูกขัดมัน..... ยาก, เข้มงวด, ตระหนี่
* กระดูกแข็ง..... ไม่ตายง่าย ๆ
* กระดูกร้อง..... ตายแล้วมีผู้เรียกร้องความเป็นธรรมให้
* กระดูกร้องได้..... ผลสะท้อนของาตกรรมที่ทำให้จับตัวผู้กระทำผิดมา
                          ลงโทษได้ คล้ายกับว่า กระดูกของผู้ตายร้องบอก
* กระดูกสันหลังของชาติ... ส่วนสำคัญที่สุดของชาติ มักหมายถึงชาวนา






แหล่งข้อมูลอ้างอิง : สำนวนโวหารไทยและคำเปรียบเทียบ
โดย : แมงก่ำเบ้อ

(มีเพิ่มเติม)
กรุณาอย่า copy เพื่อนำไปเป็นการค้า

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

คำพ้อง หมวด ฃ

ฃ.................................พยัญชนะตัวที่ ๓ พวกอักษรสูง ฐานเสียงเกิดจาก
                                   คอ อ่านว่า ขอ "ขวด" เดี๋ยวนี้ไม่ใช้เขียนคำแล้ว

ฃ................................พยัญชนะตัวที่ ๒ พวกอักษรสูง ฐานเสียงเกิดจาก
                                   คอ อ่านว่า ขอ "ไข่" ใช้สะกดในแม่กก ในคำที่มาจาก
                                   บาลีและสันสกฤต





------------------------------------------
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : พจนานุกรมคำพ้องไทย
โดย : แมงก่ำเบ้อ






กรุณาอย่า copy เพื่อนำไปเป็นการค้า

คำพ้อง หมวด ข

ขอ................................น. ไม้หรือเหล็กที่งอๆ สำหรับชัก, เกี่ยว, แขวน
                                    หรือสับ, ตาขอก็เรียก
ขอ................................ก. วิงวอน, พูดให้เขาให้สิ่งที่ต้องการ
ขอ................................น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นเหมือนขมิ้นใช้ทำยาสมุนไพรได้


ขด................................ก. ม้วนตัวเป็นวง เช่น ขดลวด, งอหรือทำให้งอ เช่น นอนขด
ขด................................ก. ขยด, เขยิบ, กระเถิบ
ขด................................น. ลักษณะนามเรียกของที่เป็นวง ๆ ว่า ขด


ขน................................น. เรียกสิ่งที่เป็นเส้นขึ้นตามผิวหนังคน, สัตว์ พืช
ขน................................ก. เอาสิ่งของมีจำนวนมากบรรทุก หรือหาบหามจาก
                                     แหล่งหนึ่งไปอีกแห่งหนึ่ง
ขน................................น. ชื่อหญ้าชนิดหนึ่งคล้ายหญ้าปล้้อง, หญ้ากรอบของ
                                     สิ่งของเพื่อยึดให้แน่น


ขัง.................................ก. ให้อยู่ในที่ล้อม, กัก, เก็บไว้

ขังขอก..........................น. ชาวเมือง

ขัณฑ์(ขัน).....................น. ภาค, ตอน, ท่อน, ส่วน, ก้อน, ชิ้น, เขตขัณฑ์
ขัณฑสกร(ขันทดสะกอน)..น.สิ่งที่ให้รสหวานเหมือนน้ำตาล, ดีน้ำตาล,
                                      เครื่องยาไทยชนิดหนึ่งคล้ายน้ำตาลกรวด
ขัณฑสีมา.....................น. เขตแดนส่วนหนึ่ง ๆ, เขตแดน, พรมแดน

ขัด................................ก. ทำให้ติดขวางไว้ไม่ให้หลุดออก, ไม่ทำตาม,
                                     ฝ่าฝืน, ขืนไว้, แย้งกันไม่ลงรอยกัน, ถูให้เกลี้ยง
                                     ถูให้ผ่องใส, ไม่ค่อยดี, ฝืดเคืองไม่ปกติ
ขัดเกลา........................ก. ทำให้เกลี้ยงเกลา, ทำให้เรียบร้อย, อบรมสั่งสอน
ขัดขวาง.......................ก. ทำให้ไม่สะดวก, ติดขัด
ขัดข้อง.........................ก. ไม่ยอมให้ทำ, ไม่ตกลงด้วย, ไม่ยินยอม
ขัดขืน...........................ก. ไม่ประพฤติตาม, ไม่ทำตาม
ขัดเขิน..........................ก. กระดากอาย, เขินอาย
ขัดคอ...........................ก. พูดแย้งเข้ามา, ไม่ให้ทำได้สะดวก
ขัดเคือง........................ก. โกระเพราะถูกขัดใจ
ขัดแค้น.........................ก. เจ็บใจอยู่ไม่หาย
ขัดจังหวะ......................ก. แทรกเข้ามาเพื่อไม่ให้พูดหรือทำได้โดยสะดวก
ขัดใจ............................ก. โกระเพราะทำไม่ถูกใจ, ไม่ยอมทำตามใจ
ขัดดอก.........................ก. ส่งลูกหรือเมียให้รับใช้แทนการส่งดอกเบี้ย
ขัดตาทัพ......................ก. ยกทัพไปตั้งชั่วคราวป้องกันไม่ให้ข้าศึกรุกเข้ามา,
                                     แก้ไขไปพลาง ๆ ก่อน
ขัดแตะ.........................ก. เรือนที่มีฝาเป็นไม้ไผ่ซีดสอดขัดกันกับลูกตั้ง
ขัดเบา..........................ก. ถ่ายปัสสาวะไม่ค่อยออกเพราะระบบขับถ่าย










(มีเพิ่มเติม)

คำพ้อง อักษร ก

กอ...........................น. กลุ่มต้นไม้ที่เกิดจากเหง้าเดียวกัน เช่น กอไผ่, หมู่เหล่า
กอ...........................น. ต้นไม้ชนิดหนึ่ง (ในพวก Oaks และ Chestnuts)
                                บางทีเรียกว่าต้นก่อ, มีแถบภาคใต้ ลักษณะใบมีขอบเป็นหยักๆ
                                มีหลายชนิด บางชนิดผล มีเมล็ด กินได้ รสมัน

กฎ...........................ก. คำโบราณ แปลว่า จดไว้เป็นหลักฐาน ตราไว้ เช่น กฎบัญชี
                                กฎหมาย
กฎ...........................น. ข้อกำหนด ข้อบัญญัติ เช่น กฎให้ไว้ กฎเกณฑ์ กฎธรรมดา

กก...........................น. พันธุ์ไม้ชนิดหนึ่ง ขึ้นอยู่ในที่ชุ่มแฉะ มีหลายชนิด
                                ลักษณะลำต้นกลมหรือสามเหลี่ยมก็มี

ก่อ...........................ก. สร้าง, ทำให้เกิดขึ้น, มีขึ้น
ก่อ...........................น. ต้นไม้ชนิดหนึ่ง ใบมักมีขอบเป็นหยักๆ มีหลายชนิด
                                ปักษ์ใต้เรียกตอ  กอ
ก่อ...........................น. ปลาช่อน

ก็..............................จึง, ย่อม, แล้ว  เช่น ตั้งใจทำก็สำเร็จ
ก็..............................นิ, ไขความ, เน้นความให้ชัดเจน เช่น ก็ดี, ก็ได้, ก็ตาม

ก้อ...........................ว. แสดงอาการเจ้าชู้ เช่น ไก่ก้อ
ก้อ...........................น. ชนชาวเขาจำนวนหนึ่ง มีอยู่ทางภาคเหนือของไทย
                                คล้ายพวกมูเซอ, อีก้อก็เรียก

ก๊อ...........................น. ต้นทับทิม

กร้อ.........................น. เครื่องสายยาชัน คล้ายปุ้งกี๋แต่เล็กกว่า

กล้อ........................น. เรือโกลน
กล้อ........................ว. กลม
กล้อ........................ก. ทำให้กลม, (ถิ่น-ปักษ์ใต้) โคลง (เรือกล้อ หรือเรือโคลง)
กล้อ........................น. เครื่องสานยาชันชนิดหนึ่ง

ก็ได้.........................นิ. เน้นน้ำหนักเท่านั้น เช่น ไปก็ได้ ไม่ไปก็ได้
ก็ได้.........................นิ. แสดงน้ำหนักเท่ากัน เช่น ท่านจะไปก็ได้

กก...........................น. ชื่ออักษรที่มีตัว ก, ข, ค, ฆ, สะกด เรียกว่า แม่กก หรือมาตราแม่กก
กก...........................น. โคน, ต้น, ลำต้น เช่น กกหู, กกขา, กกเสา
กก...........................น. พรรณไม้ชนิดหนึ่งขึ้นอยู่ในที่ชุ่มแฉะ มีหลายชนิด ต้นใช้ทอ
                                หรือสานสื่อ
กก...........................ก. แนบไว้กับอกด้วยกิริยาทะนุถนอม ช่น กกลูก กกไข่
กก...........................ก. ตัด, บั่น เช่น กกกิ่ง, กกยอด
กก...........................น. ซอกด้านใน หรือซอกด้านหลังของบานประตูหรือหน้าต่าง
กก...........................น. ชื่อนกเงือกชนิดหนึ่ง

ก๊ก...........................น. พวก, หมู่, เหล่า, กลุ่ม

กง...........................น. ชื่ออักษรที่มีตัว ง. สะกด เรียกว่าแม่กง หรือมาตราแม่กง
กง...........................น. วง, ส่วนรอบของล้อรถ หรือเกวียน
กง...........................น. ไม้รูปโค้งที่ตั้งเป็นโครงเรือ
กง...........................น. ไม้สำหรับดีดฝ้าย มีรุปร่างเหมือนคันธนู
กง...........................น. ปลาชนิดหนึ่งเรียกปลามังกง

กงพัด......................น. กงสำหรับพัดเป็นรูปใบพัดที่หมุนได้
กงพัด......................น. ไม้เหลี่ยมสอดในรูที่เจาะที่โคนเสาเรือนเพื่อกันทรุด

กงสี.........................น. ของกลาง
กงสี.........................น. กองกลางที่ใช้รวมกันสำหรับคนหมู่หนึ่ง ๆ

กช...........................น. ดอกบัว
กฎ...........................ก. จดไว้เป็นหลักฐาน, ข้อกำหนด, ข้อบัญญัติ




(มีเพิ่มเติม)
















อุปมาอุปไมย หมวด อ

หมวด อ


* องอาจเหมือนราชสีห์
* อดได้เป็นพระ
* อดเหมือนแร้ง
* อดเหมือนอดแห้งอดแล้ง (อดอยาก ไม่อุดมสมบูรณ์)
* อ้วนเป็นตุ่มสามโคก
* อ้วนเหมือนหมูตอน
* อ้วนเหมือนตอม่อค้ำยุ้ง
* อ่อนเป็นขี้ผึ้ง
* อ่อนเป็นแป้งเปียก
* อายเป็นนางอาย
* อายเป็นตัวนิ่ม
* อุ้ยอ้ายเป็นคนมีท้อง
* เอวคอดเป็นมดตะนอย

------------------------------------------
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : สำนวนโวหารไทยและคำเปรียบเทียบ
โดย : แมงก่ำเบ้อ



กรุณาอย่า copy เพื่อนำไปเป็นการค้า

อุปมาอุปไมย หมวด ห

หมวด ห

* หอบเหมือนหมา
* หนาเหมือนครก
* หนาเหมือนหนังแรด
* หน้าขาวเหมือนวอก
* หน้าขาวเหมือนไข่ปอก
* หน้าขาวเหมือนตกกระด้งแป้ง
* หน้าตาบ้องแบ๊วเหมือนแมวคราว
* หน้างอเป็นกระจ่า
* หน้างอเป็นม้าหมากรุก
* หน้าบานเป็นจานเชิง
* หน้าบานเป็นกระจาด
* หน้าบานเป็นดอกเห็ด
* หน้าหนาเหมือนถนนราดยางมะตอย
* หน้าตายู่ยี่เหมือนยักษ์ขมูขี
* หน้าเป็นมัน
* หน้าบูดเป็นตูดเป็ด
* หัวหดเหมือนเต่า
* หัวใจเต้นดังเหมือนตีกลอง
* หิวเหมือนนายพรานหิวเหยื่อ
* หิวจนลมออกหู
* หิวจนตาลาย
* หึงเป็นบ้า
* หึงเป็นลมเพชรหึง
* หูยานเป็นพระพุทธ
* หูกางเหมือนใบเรือ
* หูตาเป็นสับปะรด
* หูเหมือนหูเข้าพรรษา (ทำเป็นไม่ได้ยิน)

----------------------------------------
แหล่งอ้างอิงข้อมูล : สำนวนโวหารไทยและคำเปรียบเทียบ
โดย :  แมงก่ำเบ้อ



กรุณาอย่า copy เพื่อนำไปเป็นการค้า

อุปมาอุปไมย หมวด ว - ส

หมวด ว


* วิ่งเป็นรถไฟด่วน
* วิ่งให้พล่านเหมือนหมาถูกน้ำร้อน
* แวววาวเหมือนเพชร
* ไวเหมือนกระรอก
* ไวไฟเหมือนเบนซิน

หมวด ส

* สวยราวกับนางฟ้า
* สวยเหมือนดาราภาพยนตร์
* สว่างราวกับกลางวัน
* สั่นเป็นเจ้าเข้า
* ส่ายเป็นงูเลื้อย
* ส่ายเป็นว่าวจุฬา
* สำรวยเหมือนชาววัง
* สุกเหมือนทองคำธรรมชาติ
* เสียงเท่าฟ้า หน้าเท่ากลอง
* เสียงเหมือนแมลงหวี่
* เสียงแหบเหมือนเป็ดตัวผู้
* เสียงแหบเหมือนเป็ดเทศ
* เสียงดีเหมือนนกคีรีบูน
* เสียงดีเหมือนนกไนเติงเกล
* ใสเหมือนน้ำล้างหัวล้าน
* ใสเหมือนตาตั๊กแตน

-------------------------------------
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : สำนวนโวหารไทยและคำเปรียบเทียบ
โดย : แมงก่ำเบ้อ



กรุณาอย่า copy เพื่อนำไปเป็นการค้า

อุปมาอุปไมย หมวด ย - ล

หมวด ย

* ยกมือสลอนเป็นฝักถั่ว
* แย่งกันเหมือนมอญแย้งศพ
* แย่งกันเหมือนแร้งลง
* แย่งกันเหมือนอีแร้งกินหมาเน่า

หมวด ร

* ร้อนใจเหมือนไฟสุม
* ร้อนเหมือนร้อนอาสน์
* รัวเหมือนข้าวตอกแตก
* รั่วเหมือนตะกร้า
* ราบเป็นหน้ากลอง, ราบพนาสูร
* ร่วนเป็นไข่เค็ม
* รูปร่างเหมือนอึ่งอ่าง
* รูปร่างเหมือนไหกระเทียมต่อขา
* รูปร่างเหมือนผีตายซาก
* เร็วเหมือนสายฟ้าแลบ

หมวด ล

* ลามเหมือนขี้กลาก
* ลายมือเป็นไก่เขี่ย
* ลายเหมือนตุ๊กแก
* ล่ำเป็นมะขามข้อเดียว
* ลุกลามเป็นไฟลามทุ่ง
* เล็กเท่าเม็ดงา, ขี้ผง
* ลิ้นเป็นสองแฉก

------------------------------------------
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : สำนวนโวหารไทยและคำเปรียบเทียบ
โดย : แมงก่ำเบ้อ



กรุณาอย่า copy เพื่อนำไปเป็นการค้า

อุปมาอุปไมย หมวด พ - ม

หมวด พ

* พุงเป็นกระสอบ
* พูดรัวเป็นแขกกลิ้งค์
* พูดรัวราวกับลิ้นลังกา
* พูดรัวราวกับยิงปืน
* พูดจาไม่แน่เหมือนแช่แป้ง
* พูดจาเป็นนกแก้ว นกขุนทอง
* พูดคล่องดังล่องลำธาร
* พูดเป็นมะนาวไม่มีน้ำ

หมวด ฟ

* ฟันขาวราวไข่มุก
* ฟันใหญ่เหมือนจอบ
* ฟันฟางเหมือนคนแก่

หมวด ม

* มาเป็นพายุบุแคม
* มาเป็นไทยไปเป็นฝรั่ง
* มีปากเสียเปล่าเหมือนเต่าเหมือนหอย
* มืดเหมือนเข้าถ้ำ
* มือเหนียวเหมือนตุ๊กตา
* หมุนเป็นกังหัน
* หมุนเป็นลูกข่าง

------------------------------------
แหล่งอ้างอิงข้อมูล : สำนวนโวหารไทยและคำเปรียบเทียบ
โดย : แมงก่ำเบ้อ



กรุณาอย่า copy เพื่อนำไปเป็นการค้า

อุปมาอุปไมย หมวด ป - ฝ

หมวด ป

* เปรียบเป็นกระต่ายป่า
* เปรี้ยวอย่างมะนาว
* ปั้นเรื่องเหมือน ปั้นน้ำเป็นตัว
* ปากเหมือนชักยนต์
* ปากเหมือนกระจับ
* ปากเหมือนฆ้องปากแตก
* ปากแดงเหมือนลิ้นจี่
* ปากแดงเหมือนกินหมาก
* ปากแดงเหมือนกินเลือด
* ปากเหมือนตูดไม่มีหูรูด

หมวด ผ

* ผมดำเหมือนกาน้ำ
* ผมหยิกเหมือนลูกคลื่น
* ผมหยิกเหมือนอ้ายเงาะ
* ผอมเหมือนขี้ยา
* ผอมเป็นโครงกระดูกเดินได้
* ผอมเหมือนไม้จิ้มฟัน
* ผิวเรียบเหมือนส้มเกลี้ยง
* ผิวหยาบเหมือนมะกรูด
* ผิวหยาบเป็นกระดาษทราย
* ผิวเหลืองเหมือนทาขมิ้น
* เผ็ดเหมือนขิง

หมวด ฝ

* ฝนตกยังกะฟ้ารั่ว
* ฝอยจนน้ำลายแตกฟอง

--------------------------------------
แหล่งข้อมูลอ้างอิง :  สำนวนโวหารไทยและคำเปรียบเทียบ
โดย : แมงก่ำเบ้อ




กรุณาอย่า copy เพื่อนำไปเป็นการค้า

อุปมาอุปไมย หมวด ท - บ

หมวด ท

* ทำเป็นปลิงสูบเลือด
* ทำตัวเป็นกาฝาก
* ทำตัวเป็นบ่างช่างยุ
* ทื่อเป็นท่อนไม้
* ทื่อเป็นสากกระเบือ
* ทื่อเหมือนสันขวาน
* ทื่อเหมือนมีดเป็นสนิม

หมวด น

* นวลเหมือนพระจันทร์
* น่องเหมือนปลีกล้วย
* น่องทู่เหมือนต้นกล้วย
* นอนเป็นตาย
* นอนกินบ้านกินเมือง
* นั่งเป็นหักหลักหัวตอ
* นั่งนิ่งเป็นตุ๊กตา

หมวด บ


* บางเป็นกระจก
* บางเหมือนผ้ากรอง
* บานเป้นดอกบัว
* บานเป็นจานเชิง (ใช้กับหน้า)
* บุ่มบ่ามเหมือนคนบ้า
* เบียดจนตัวลีบ
* เบื่อเป็นยารุ
* แบนเป็นกล้วยทับ (กล้วยปิ้ง)

----------------------------------------
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : สำนวนโวหารไทยและคำเปรียบเทียบ
โดย : แมงก่ำเบ้อ






กรุณาอย่า copy เพื่อนำไปเป็นการค้า

อุปมาอุปไมย หมวด ด - ถ

หมวด ด


* ดังอย่างกับทุบมะพร้าว
* ดังเหมือนฟ้าผ่า
* ดุเหมือนเสือ
* ดุเหมือนหมาแม่ลูกอ่อน
* ดำเหมือนนิโกร
* ดำเหมือนตับเป็ด
* ดำเหมือนดินหม้อ
* ดำเหมือนเหนี่ยง
* ดำเหมือนตอตะโก
* เดินเหมือนนักเลงโต
* เดินโซเซเหมือนงู

หมวด ต


* เตี๊ยเหมือนไหกระเทียมต่อขา
* โตเป็นวัวเป้นควาย
* โตเท่าภูเขาเลากา
* โตเป็นพักโตเป็นแฟง

หมวด ถ

* ถุกปั่นหัวเป็นจิ้งหรีด
* ถูกเป็นกล้วยน้ำว้า
* ถูกเป็นขี้

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : สำนวนโวหารไทยและคำเปรียบเทียบ
โดย : แมงก่ำเบ้อ
กรุณาอย่า copy เพื่อนำไปเป็นการค้า

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อุปมาอุปมัย หมวด ก

* กรอบเป็นข้าวเกรียบ
* กรีดกรายเป็นนางพญา
* กรีดกรายเป็นนางหงส์
* กลมเกลี้ยงราวกับกลึง
* กลมเป็นลูกมะนาว ลูกบิลเลียด
* กลับกลอกเป็นกระบอกจังหัน
* กลิ้งเป็นลูกขนุน
* กลิ้งเป็นลูกมะนาว
* กลิ้งเหมือนน้ำบนใบบอน
* กองเป็นภูเขาเลากา
* กอดมือนั่งเหมือนลิงจอ
* กินเหมือนหมู, กินอย่างหมู
* กินเผื่อหมา
* กินเป็นพายุบุแคม
* เกลี้ยงเหมือนล้างน้ำ
* เกลี้ยงเหมือนหัวล้าน
* แก้มเป็นสีกุหลาบ
* แก้มแดงเหมือนลูกท้อ
* เกลื่อนเป็นเทกระจาด

----------------------------------
แหล่งอ้างอิง : สำนวนโวหารไทยและคำเปรียบเทียบ
โดย : แมงก่ำเบ้อ

กรุณาอย่า copy เพื่อนำไปเป็นการค้า

อุปมาอุปมัย หมวด ฉ - ซ

หมวด ฉ

* เฉาเหมือนถูกน้ำร้อนลวก

-----------------------------------------------------------------------
หมวด ช

* ชีดเป็นน้ำยาเย็น
* ใช้เงินเป็นเบี้ย
* ชักจนตาตั้ง
* ช้าเป็นเต่า

----------------------------------------------------------------------
หมวด ซ

* ซักเหมือนตุลาการ
* ซักเป็นศาลที่สอง
* ซึมกระทือเหมือนคนอดนอน
* ซูบซีดเหมือนคนรื้อไข้

------------------------------
แหล่งอ้างอิง : สำนวนโวหารไทยและคำเปรียบเทียบ
โดย : แมงก่ำเบ้อ


กรุณาอย่า copy เพื่อนำไปเป็นการค้า

อุปมาอุปมัย หมวด จ

* จมูกไวเหมือนมด
* จ้องเขม็งราวกับจะกินเลือดกินเนื้อ
* จ้องราวกับแมวตะครุบเหยื่อ
* จืดชืดเป็นน้ำยาเย็น
* แจวอ้าวเป็นเรือยนต์
* ใจดีเป็นพระ
* ในดีเป็นพระเวสสันดร
* ใจกว้างอย่างมหาสมุทร
* ใจเสาะเป็นปลาสิว
* ใจเสาะเป็นเจ๊ก

-----------------------------
แหล่งอ้างอิง : สำนวนโวหารไทยและคำเปรียบเทียบ
โดย : แมงก่ำเบ้อ


กรุณาอย่า copy เพื่อนำไปเป็นการค้า

อุปมาอุปมัย หมวด ง

* งงเหมือนไก่ไก่ตาแตก, งงเป็นไก่ตาแตก
* งุ่มง่ามเป็นคนแก่
* ง่ายเหมือนเป่าสาก, เงียบเป็นเป่าสาก
* เงียบเป็นป่าช้า

------------------------------------
แหล่งอ้างอิง : สำนวนโวหารไทยและคำเปรียบเทียบ
โดย : แมงก่ำเบ้อ


กรุณาอย่า copy เพื่อนำไปเป็นการค้า

อุปมาอุปมัย หมวด ค

* คมเป็นมีดโกน
* คดเหมือนมีเคียวอยู่ในท้อง
* คลานเหมือนเต่า
* คะนองเหมือนม้า
* คิ้วโก่งดังวงเดือน
* คิ้วโก่งเหมือนคันศร
* คิ้วโก่งเหมือนวาด
* แคบเป็นรูหนู
* แค่มือเอื้อม

----------------------------
แหล่งอ้างอิง : สำนวนโวหารไทยและคำเปรียบเทียบ
โดย : แมงก่ำเบ้อ



กรุณาอย่า copy เพื่อนำไปเป็นการค้า

อุปมาอุปมัย หมวด ข

* ขดเป็นวงเป็นกง
* ขดเป็นเกลียว
* ขมเหมือนบอระเพ็ด
* ขมเหมือนยาขม
* ขายาวเหมือนนกกระยาง
* ขาลีบเหมือนตะเกียบ
* ขาวเหมือนแป้ง
* ขาวเหมือนหยวก
* ขาวเหมือนไข่ปอก
* ขาวเหมือนสำลี
* ขี้ตืดเป็นตังเม
* ขี้เหนียวเหมือนตังเม
* ขี้แยเหมือนเด็ก
* ขี้หลงขี้ลืมเหมือนตาแก่, เหมือนคนแก่
* ขุ่นเป็นตม
* ขุ่นเป็นตะกอน
* เขียวเหมือนมรกต

---------------------------------
แหล่งอ้างอิง : สำนวนโวหารไทยและคำเปรียบเทียบ
โดย : แมงก่ำเบ้อ
กรุณาอย่า copy เพื่อนำไปเป็นการค้า

ประเภทและประโยชน์

ประเภท

แบ่งออกได้ ๒ ประเภท

๑. มีเสียงสัมผัสคล้องจอง เช่น หมูเห็ดเป็ดไก่ ,รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี, ฯลฯ
๒. ไม่มีเสียงสัมผัสคล้องจอง เช่น ย้อมแมวขาย นกน้อยทำรังแต่พอตัว ฯลฯ

ประโยชน์สำนวนโวหาร
๑. ทำให้ใช้ภาษาในการเขียน ความเรียงต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ช่วยเพิ่มคุณค่า 
และความน่าเชื่อถือของความเรียงที่เราเขียนขึ้น
๒. ทำให้ได้คติสอนใจ ด้านต่าง ๆ ตัวอย่าง เช่น
     * ด้านการศึกษาเล่าเรียน เช่น ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด
     * ด้านการครองเรือน เช่น ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน
     * ด้านการคบค้าสมาคม เช่น คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ
     * ด้านความรัก เช่น ยามรักน้ำต้มผักก็ว่าหวาน
๓. ทำให้ทราบความเป็นอยู่ของคนในสังคม ในสมัยท่เกิดสำนวนโวหารนั้นว่า
มีความหมายอยู่อย่างไร เช่น น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า, หมูไปไก่มา ฯลฯ
๔. เป็นการรักษาวัฒนธรรมทางภาษาอันเป็นมรดกอันล้ำค่าของไทยให้
ลูกหลานได้ภูมิใจกัน



กรุณาอย่า copy เพื่อไปเป็นการค้า

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ที่มาของสำนวนไทย

ที่มา

..........สำนวนไทย มีสาเหตุที่เกิดหลายสาเหตุ สรุปสาระสำคัญดังนี้

๑. เกิดจากธรรมชาติ ตัวอย่าง

     * ลุกไม้หล่นไม่ไกลต้น
     * ฝนตกไม่ทั่วฟ้า
     * คลื่นใต้น้ำ
     * ข้าวคอยฝน
     * น้ำลอดใต้ทราย
     * น้ำซึมบ่อทราย
     * ใบไม้ร่วงจะออกช่อ ข้าวรัดกอจะออกรวง

๒. เกิดจากสัตว์ ตัวอย่าง
     * หมาหยอกไก่
     * ไก่แก่แม่ปลาช่อน
     * งูกินหาง
     * จระเข้ฟาดหาง
     * เสือซ่อนเล้บ
     * ปลากระดี่ได้น้ำ
     * เต่าใหญ่ไข่กลบ
     * ไก่แก่หนังเหนียว

๓. เกิดจากของกินของใช้ ตัวอย่าง

     *. ผ้าขี้ริ้วห่อทอง
     * บ้านช่องห้องหอ
     * ข้าวแดงแกงร้อน

๔. เกิดจากการกระทำ ความประพฤติ การปฏิบัติและการกินอยู่ของคน ตัวอย่าง
     * หาเช้ากินค่ำ
     * ปืดทองหลังพระ
     * จับให้มั่น คั้นให้ตาย
     * ล้มหมอนนอนเสื่อ
     * แล่เนื้อเอาเกลือทา

๕. เกิดจากอวัยวะ ตัวอย่าง
     * ตาไม่มีแวว
     * ใจลอย
     * คอเป็นเอ็น
     * มืออยู่ไม่สุข
     * ก้างขวางคอ


๖. เกิดจากแบบแผนประเพณี และวัฒนธรรม ตัวอย่าง
     * ตื่นก่อนนอนทีหลัง
     * ช้างเท้าหลัง
     * เข้าตมตรกออกตามประตู


๗. เกิดจากนิยาย นิทาน ตำนาน หรือประวัติศาสตร์ ตัวอย่าง
     * ฤาษีแปลงสาร
     * กบเลือกนาน
     * กระต่ายหมายจันทร์
     * ดอกพิกุลจะร่วง

๘. เกิดจากการละเล่น กีฬา หรือการแข่งขัน ตัว อย่าง
     * สุดสายป่าน
     * รุกฆาต
     * ไก่รองบ่อน
     * ไม่ดูตาม้าตาเรือ
     * ว่าวติดลมบน

๙. เกิดจากศาสนา ตัวอย่าง
     * ผ้าเหลืองร้อน
     * ขนทรายเข้าวัด
     * กรวดน้ำคว่ำขัน


แหล่งข้อมูล : หนังสือสำนวนโวหารไทยและคำเปรียบเทียบ
ผู้แต่ง : ผศ.ดร.เรืองอุไร อินทรประเสริฐ - เอนก อัครบัณฑิต
จัดทำโดย : แมงก่ำเบ้อ (นามแฝง)
(ขออนุญาตนำผลงานเผยแพร่และขอบพระคุณท่านอาจารย์ มา ณ ที่นี้ด้วย)
--------------------------------------------------------------


กรุณาอย่า copy เพื่อไปเป็นการค้า

ความหมาย

ความหมาย
..........ตามพจนานุกรม  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้กำหนดความหมายไว้ดังนี้

สำนวน 
..........หมายถึงถ้อยคำที่เรียบเรียง ถ้อยคำที่ไม่ถูกไวยากรณ์ แต่รับใช้
เป็นภาษาที่ถูกต้อง การแสดงถ้อยคำออกมเป็นข้อความพิเศษเฉพาะ
ภาษาหนึ่ง ๆ หรือหนังสือแบบหนึ่ง ๆ

คำคม
..........หมายถึง ถ้อยคำที่หลักแหลมชวนให้คิด
  
คำพังเพย
..........หมายถึง คำกลางๆ ที่กล่าวไว้ให้ตีความเข้ากับเรื่อง
 
ภาษิต
..........หมายถึง คำกล่าว ตามศัพท์เป้นคำกลางๆใช้ได้ทั้งทางดี
ทางชั่ว แต่โดยความหมายแล้ว ประสงค์ประสงค์ให้เป็นคติ 

สุภาษิต
..........หมายถึง คำพูดที่เป็นคติสอนใจ
 
อุปมา
..........หมายถึง สิ่งหรือข้อความที่ยกมาเปรียบ
 
อุปไมย
..........หมายถึง สิ่งหรือข้อความที่พึงเปรียบเทียบกับสิ่งอื่นเพื่อให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
 
อุปมาอุปไมย
..........หมายถึง การเปรียบเทียบกัน 

โวหาร 
..........หมายถึง ชั้นเชชิง หรือสำนวนแต่งหนังสือ หรือพูดถ้อยคำที่เล่นเป็นสำบัดสำนวน

แหล่งข้อมูล : หนังสือสำนวนโวหารไทยและคำเปรียบเทียบ
ผู้แต่ง : ผศ.ดร.เรืองอุไร อินทรประเสริฐ - เอนก อัครบัณฑิต
จัดทำโดย : แมงก่ำเบ้อ (นามแฝง)
(ขออนุญาตนำผลงานเผยแพร่และขอบพระคุณท่านอาจารย์ มา ณ ที่นี้ด้วย)
-------------------------------------------------------------- 


กรุณาอย่า copy เพื่อนำไปเป็นการค้า

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พจนานุกรม หมวด ก

ก...................................พยัญชนะไทยตัวแรก จัดเป็นอักษรกลาง
ก กา..............................น. ชื่อมาตราที่ไม่มีตัวสะกด
ก็...................................สัน, แล้ว, จึง, ยอม
กก.................................น. ชื่อมาตราที่มีตัว ก  ข  ค  ฆ สะกด เรียกว่า มาตรา กก
                                     หรือ แม่กก; โคน, ต้น, ลำต้น; ชื่อพรรณไม้ซึ่งเกิดในที่ชุ่มแฉะ
                                     มีหลายชนิด, ก. แนบไว้กับอก
ก๊ก..................................น. พวก, หมู่, เหล่า
กกุธภัณฑ์ (กะกุดทะพัน)......น.  เครื่องหมายแสดงความเป็นพระมหากษัตริย์
                                      เรียกว่า เครื่องราชกกุธภัณฑ์.
กง..................................น.  ชื่อมาตราที่มีตัว  ง  สะกด  เรียกว่า มาตรา  กง
                                      หรือแม่กง; วง, ส่วนรอบของล้อ หรือเกวียน,
                                      สิ่งที่มีลักษณะอล่างล้อรถ; ไม้โครงเรือ;
                            .         ไม้ดีดฝ้าย  เรียกว่า  ไม้กงดีดฝ้้าย
กงเกวียน........................น.  ล้อเกวียน
กงจักร............................น.  สิ่งที่มีรูปเป็นวงกลม มีริมเป็นแฉก ๆ โดยรอบ.
ก่ง...................................ก.  ทำให้โค้ง. ว. โค้ง
ก๊ง...................................ก. ดื่ม (ใช้กับเหล้า) น. หน่วยตวงเหล้าโรง ๑ ก๊ง
                                       เท่ากับ ๕๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร
กงการ.............................น. กิจการ, หน้าที่ ,ธุระ
ก้งโค้ง.............................ก. โน้มตัวลงยกก้มให้สูงขึ้น
กงไฉ่...............................น. ผักกาดเค็มชนิดหนึ่ง
กงเต็ก..............................น. การทำบุญให้แก่ผู้ตายตามพิธีของนักบวชจีนและญวณ
                                       มีการสวดและเผากระดาษที่ทำเป็นรุปต่างๆ
กงสี.................................น. ของกลางที่ใช้ร่วมกันสำหรับคนหมู่หนึ่ง ๆ,
                                        หุ้นส่วน ,บริษัท
กงสุล...............................น. ตำแหน่งของบุคคลผู้ที่มีหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของชาติ
                                        และคนในชาติประจำอยู่ตามเมืองต่าง ๆ ในต่างประเทศ,
                                        สถานกงสุล, กงสุลใหญ่, กงสุล
กช, กช (กด, กดชะ-)........น. ดอกบัว
กชกร (กดชะกอน)...........น. กระพุ่มมือ
กฎ (กด)...........................น. ข้อกำหนด, ข้อบัญญัติที่ใช้บังคับเพื่อให้ปฏิบัติตาม
กฎกระทรวง,กฎทบวง......น. ข้อบัญญัติที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ
กฎเกณฑ์.........................น. ข้อกำหนดที่วางไว้เป็นหลัก, หลักเกณฑ์
กฎบัตร.............................น. ตราสารกำหนดสิทธิหรือกำหนดธรรมนูญขององค์กร
กฎมณเทียรบาล...............น. ข้อบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับพระราชฐานและพระราชวงศ์
กฎหมู่...............................น. อำนาจกดดันที่บุคคลจำนวนมากนำมาใช้บีบบังคับ
                                         ให้อีกฝ่ายหนึ่งกระทำหรือเว้นกระทำสิ่งที่ตนต้องการ
                                         (ซึ้งมักเป็นเรื่องผิดระเบียบ)
กฎแห่งกรรม......................น. ผลแห่งกรรมที่ผู้กระทำจะต้องได้รับ
กฎอัยการศึก......................น. กฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย
                                          ภายในราชอาณาจักร อำนาจการบริหาร
                                          และการพิจารณาคดีอาญาจะอยู่ภายใต้การควบคุมของทหาร
กฎหมาย............................น. ข้อกำหนดหรือบทบัญญัติที่ตราขึ้นไว้เพื่อใช้ในการ
                                          บริหารบ้านเมืองให้มีความสงบเรียบร้อย
กฎหมายพาณิชย์...............น. กฎหมายที่ด้วยการติดต่อทางการค้าและธุรกิจระหว่างเอกชน
กฎหมายแพ่ง.....................น. กฎหมายที่ว่า่ด้วยความเกี่ยวพันระหว่างเอกชนต่อเอกชน
กฎหมายระหว่างประเทศ....น.กฎหมายแห่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
กฎหมายอาญา..................น. กฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อรักษาความปลอดภัย
                                          ของประเทศและของเอกชน และรักษาความสงบเรียบร้อย
                                          ในบ้านเมือง, บทบัญญัติของกฎหมาย
                                         ที่บทลงโทษทางอาญาเป็นกฎหมายอาญาทั้งสิ้น
กฐิน (กะถิน)......................น. ไม้สะดึง, คือไม้แบบสำหรับตัด,
                                          ผ้าที่ถวายพระภิกษุสงฆ์ในช่วงกฐินกาล
กฐินกาล (กะถินนะกาน)....น. ระยะเวลาตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑
                                         ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ เรียกว่า เทศกาลกฐิน
กฐินทาน (กะถินนะทาน)...น. การทอดกฐิน
กด....................................น. ชื่อมาตรา กด หรือแม่กด มีอักษร จ ฉ ช ซ ฌ
                                         ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส เป็นตัวสะกด,
                                         ชื่อปลาไม่มีเกล็ดจำพวกหนึ่งที่พบมาก
                                         ในเขตน้ำกร่อยหรือในทะเล, ชื่อนกชนิดหนึ่ง,
                                         ก. บังคับลง, ข่ม, ใช้กำลังดันให้ลง
กดขี่................................ก. ข่มให้อยู่ในอำนาจตน, ใช้อำนาจบังคับเอาตามใจ
กดคอ..............................ก. บังคับเอา
กดดัน..............................ก. บีบคั้น
กดราคา...........................ก. ทำให้ราคาต่ำกว่าปกติ
กดเวทิตา (กดตะ-)...........น. ความเป็นผู้สนองคุณท่าน, ใช้คู่กับคำกตัญญู
กดเวที (กดตะ-)...............ว. สนองคุณท่าน, ใช้คู่กับคำกตัญญู
กตัญชลี (กะตันชะลี)........ก. ยกมือไหว้
กตัญญุตา........................น. ความตัญญู
กตัญญู.............................ว. รู้อุปการะที่ท่านทำให้, รู้คุณท่าน, ใช้คู่กับกตเวที
กตาภินิหาร......................น. อภินิหาร
กติกา...............................น. ข้อตกลง ข้อกำหนด หรือกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น
                                        เป็นหลักในการปฏิบัติ
กถา.................................น. ถ้อยคำ, เรื่อง, คำอธิบาย, คำกล่าว
กถามุข............................น. เบื้องต้นของเนื้อเรื่อง
กถิกาจารย์......................น. อาจารย์ผู้กล่าว
กหลี (กะทะ-)...................น. กล้วย
กน...................................น. ชื่อมาตรา กน หรือแม่กน มีตัวอักษร ญ ณ น ร ล ฬ สะกด
ก่น...................................ก. ขุดโค่น
ก่นแต่..............................ก. เฝ้าแต่, มัวแต่
ก้น...................................น. ส่วนเบื้องล่างหรือส่วนท้ายของลำตัว, ส่วนล่างของภาชนะ
                                            เช่นก้นหม้อ, ส่วนสุดของห้วงหรือแอ่ง เช่น ก้นสระ ก้นบ่อ,
                                            ส่วนสุดที่เหลือ
ก้นกบ..............................น. ปลายกระดูกสันหลังที่สุดลงมาข้างล่าง
ก้นกุฎิ..............................ว. ที่สนิทเป็นที่ไว้วางใจได้
ก้นขบ..............................น. ชื่องูชนิดหนึ่ง ไม่มีพิษ
ก้นครัว.............................ว. ไม่ได้ออกหน้าออกตา
ก้นบึ้ง..............................น. ส่วนสุดของรูที่ลึก, ส่วนสุดของสิ่งที่ลึก,ส่วนใต้สุด
ก้นปล่อง.........................น. ชื่อยุงชนิดหนึ่ง เป็นภาหะนำเชื้อไข้มาลาเรีย
ก้นปอด...........................น. ก้นที่เล็กผิดปกติ, ก้นที่ไม่ค่อยมีเนื้อ
ก้นหนัก...........................ว. นั่งอยู่นาน, ไม่ยอมกลับง่าย ๆ
ก้นหอย...........................น. รอยเส้นขดวนเข้าหาศูนย์กลางอย่างรูปก้นหอย
กนก (กะหฺนก).................น. ทองคำ
กนิษฐ์ (กะนิด)................น. น้อง, ว. น้อย
กนิษฐภคินี......................น. น้องหญิง
กนิษฐภาดา....................น. น้องชาย
กนิษฐา...........................น. น้อง, นิ้วก้อย
กบ..................................น. ชื่อมาตรา กบ หรือ แม่กบ มีตัวอักษร บ ป พ ฟ ภ
                                           สะกด, ชื่อสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำชนิดหนึ่ง, เครื่องมือช่างไม้
                                           ชื่อทุเรียนพันธุ์หนึ่ง, สลักไม้ที่ใส่ไว้ด้านล่างของ
                                           บานหน้าต่างหรือประตู
กบฎ................................ก. ประทุษร้ายต่อประเทศชาติ, ทรยศ
                                       น. ผู้ประทุษร้ายต่อประเทศชาติ, ผู้ทรยศ, ขบถ
กบดาน...........................ก. นอนพังพาบกับพื้นใต้น้ำ, เป็นอาการของจระเข้
                                           หลบซ่อนตัวไม่ออกมา
กบทู...............................น. สันแห่งหลังคาเรือน, ไม้ข่มข้างกลอน
กบาล.............................น. ส่วนของกระโหลกศีรษะ, หัว, แผ่นกระเบื้อง
กบินทร์...........................น. พญาลิง
กบิล...............................น. ลิง, ระเบียบ, แบบ ทาง, วิธีการ, กระบวน, หมู่
กบี่..................................น. ลิง
กโปร..............................น. ศอก, ข้อศอก (ราชาศัพท์)

วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คำพ้อง หมวด อักษร จ

จรรย์ (จัน).....(น) ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ
จัณฑ์.......... (ว) ดุร้าย หยาบช้า เกรี้ยวกราด ฉุนเฉียว น้ำสุราเมรัย
                    เรียกว่า น้ำจัณฑ์
จัน..............ต้นไม้ชนิดหนึ่ง จำพวกพลับและตะโก พุ่มใบงาม
                ผลลักษณะกลม ๆ แบนๆ เมื่อสุกสีเหลือง หอมกินได้
จันทร์.....(น) ดวงเดือน
จันทน์.....(น) ชื่อต้นไม้บางชนิด มีเนื้อไม้ ดอก หรือผลหอม ใช้ทำยา
                และปรุงเครื่องหอม
จั่ว.....(น) เครื่องบนแห่งเรือนที่อุดด้านสกัดหลังคาสำหรับกันลม
               และแดดฝน มีรูปทรงเป็นสามเหลี่ยม
จัว.....(น) สามเณร (ถิ่นอีสาน)
จาน.....(น) เรียกมะเขือชนิดหนึ่งว่า มะเขือจาน คู่กับมะเขือถ้วย
จาน.....(ก) เจือด้วยน้ำ ปน
จาน.....(น) ต้นทองกวาว (ถิ่น-อีสาน)
จาร (จาน)..... (ก) เขียนด้วยเหล็กแหลมบนใบลานหรืออย่างอื่น
จ้าว (ถิ่น) .....(น) หุง ทอด
จ้าว.....(น) เจ้า เป้นคำเรียกในสมัยโบราณ
เจ้า.....(น) เชื้อสายของกษัตริย์ พระเจ้าแผ่นดิน เช่น เจ้าปักกิ่ง
                เจ้าวิลาส ผู้เป็นใหญ่ ผู้เป็นหัวหน้า เช่น เจ้าเมือง เจ้ากรม
                ผู้เป็นเจ้าของ เช่น เจ้าทรัพย์ เจ้าหนี้ ผู้ชำนาญ เช่น เจ้าปัญญา
                เจ้าบทเจ้ากลอน ใช้เติมท้ายคำเรียกผู้ที่นับถือ เช่น พระพุทธเจ้า
                เทพเจ้า เทพารักษ์ เช่น เจ้าพ่อหลักเมือง
เจ้า.....เป็นคำสรรพนามบุรุษที่สองหรือที่สาม สำหรับผู้ใหญ่เรียกผู้น้อย
               โดยสุภาพหรือเอ็นดู เช่น เจ้ามานี่กับใคร เจ้างามพักตร์เพียงจันทร์บุหลันฉาย
เจ้า.....เป็นคำนามนำที่ผู้ใหญ่เรียกเด็กหรือผู้น้อย เช่น เจ้าหนู เจ้าแดง
เจ้า.....(น) ข้าวชนิดหนึ่ง เรียกว่า ข้าวเจ้า คู่กับข้าวเหนียว
เจียน.....(ก) ตัด เฉือนให้เป็นรูปตามที่ต้องการ
เจียน.....(ว) เกือบ จาน
เจียร (เจียน) .....(ว) นาน ช้านาน ยืนยาน
เจียร (เจียน)..... (ก) จร ไป จากไป เช่น เทาว่าไฟประจากเจียร
เจียว.....(ว) แกง
เจียว.....(ก) ทอดเปลวไขมันสัตว์เอาน้ำมัน ทอดด้วยน้ำมัน
แจ.....(ว) กระชั้น ไม่คลาด ไม่ห่าง แน่น
แจ.....(น) อาหารที่ไม่มีของคาวสำหรับคนจีนที่ถือศีล ซึ่งเรียกว่า กินแจ
แจง.....(น) ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง ใช้ทำยาได้
แจง.....(น) เทศน์สังคายนา เรียกว่า เทศน์แจง
แจง.....(ก) แจก ขยาย กระจาย
แจง.....(น) มุม (ถิ่น) แจ่ง
แจ๊ด.....(ว) จัด ยิ่ง ใช้สำหรับสีแดงหรือรส
แจตร.....(น) เดือน 5 ตามจันทรคติ
โจทก์.....(น) ผู้กล่าวหา ผู้ร้องเรียน
โจทย์.....(น) คำถามในการคิดเลข บางทีเขียนเป็น โจท ก็ได้
โจษ.....(ก) เล่าลือ พูดกันเซ็งแซ่
โจน.....(ก) กระโดดไป เผ่นไป
โจร.....(น) ผู้ร้ายลักปล้น ผู้ปล้น
โจล (โจน หรือโจละ).....(น) ผ้าท่อน เช่น บริขารโจล

กรุณาอย่า copy เพื่อไปเป็นการค้า

คำพ้อง หมวด อักษร ฆ

ฆาต.....(น)  การฆ่า, การทำลาย
ฆาต.....(ก) ตี เช่น เจ้าวิลาสหาตกลองเร่งกองรบ

วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

คำพ้อง หมวด ศ,ส

ศรัย (ไส)..............ที่พักพิง, ที่พึ่ง, ที่อาศัย, ที่ร่มรื่น

สัยน์.....................สยนะ, ที่นอน, การนอน

ใส........................ไม่ขุ่นมัว

ไส........................เสือกไส, ส่งไป, รุนไป, ดันไป
ไส........................เรียกลูกคนที่ ๗

ไสย (ไส)..............ลัทธิอันเนื่องด้วยเวทมนตร์คาถา ซึ่งถือว่าได้มาจากอินเดีย


สิงค์.................เขาสัตว์ต่าง ๆ, เขา, ยอดเขา, ที่สุงสุด

สิงห์.................ราชสีห์


------------------------------------------------
โดย : แมงก่ำเบ้อ










กรุณาอย่า copy เพื่อไปเป็นการค้า

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สำนวน

ก ข. ไม่กระดิกหู.............................ผู้ที่เรียนหนังสือแล้วไม่รู้ อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
กงเกวียน  กำเกวียน..........................ใช้เป็นคำอุปมา  หมายถึง เวรสนองเวร กรรมสนองกรรม ทำกับเขาอย่างไร ก็
                                                         ทำแก่ตนอย่างนั้น
กดหัว..............................................ทำให้หือไม่ขึ้น
ก้นกระดก........................................ลืมตัวเพราะถูกยกยอ
ก้นถึงฟาก ปากถึงข้าว.......................อยู่กินสุขสบาย
ก้นรั่ว.................................................สุรุ่ยสุร่าย มีทางเสียหายมาก
ก้นหม้อข้าวไม่ทันดำ.........................ผัวเมียอยู่กินกันไม่นาน
ก้นหนัก.............................................ไม่ยอมกลับง่าย ๆ
ก้นไปหาร่อง......................................จะขอความช่วยเหลือจากใครก็ต้องไปหาเขาถึงที่พักของเขา
กบในกะลาครอบ...............................มองเห็นโลกในวงแคบ
กบเลือกนาย.......................................ต้องการเปลี่ยนผู้บังคับบัญชาเรื่อยๆ , เป็นคนช่างเลือกจนโดนดี คือ
                                                           เลือกจนได้สิ่งที่เลวกว่าเดิม
กบเฝ้ากอบัว.......................................โง่ อยู่ใกล้แต่ไม่รู้ค่าของที่ดี
ก้มหัว.................................................ยอมอ่อนน้อม ยอมรับนับถือ
ก้มนักมักซวน.....................................ทำอะไรเกินความพอดี มักพลาดพลาดพลั้ง
ก้มหน้า...............................................จำทน เช่น ต้องก้มหน้าทำตามประสายาก
ก้มตา..................................................ทำโดยไม่มองสิ่งอื่น, ทำโดยตั้งใจ เช่น ก้มหน้าก้มตาทำไปจนกว่าจะเสร็จ
กรวดน้ำ , กรวดน้ำคว่ำขัน,.................ตัดขาดไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย
กรวดน้ำคว่ำกะลา................................ตัดขาดไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย
กระจอกงอกง่อย..................................ยากจนเข็ญใจ
กระชังหน้าใหญ่...................................จัดจ้าน หรือคนที่ชอบออกหน้ารับเสียเอง
กระชุ่มกระชวย....................................มีอาการกระปรี้กระเปร่า, คล่องแคล่ว ดูยังหนุ่มยังแน่น
กระเชอก้มรั่ว.......................................สุรุ่ยสุร่าย, ไม่รู้จักเก็บหอมรอมริบ, ขาดการประหยัด
กระดิกกระเดี้ย.....................................ไม่ใคร่ไหว เช่น หากินกระดิกกระเดี้ย
กระดี่ได้น้ำ..........................................อาการแสดงความดีอกดีใจตื่นเต้นจนตัวสั่น
กระดูกขัดมัน.......................................ยาก,  เข้มงวด, ตระหนี่
กระดูกแข็ง...........................................ไม่ตายง่าย ๆ
กระดูกร้อง............................................ตายแล้วมีผู้เรียกร้องความเป็นธรรมให้
กระดูกร้องได้........................................ผลสะท้อนของฆาตกรรมที่ทำให้จับตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษได้
                                                              คล้ายกับว่า กระดูกของผู้ตายร้องบอก
กระดูกสันหลังของชาติ........................ส่วนสำคัญที่สุดของชาติ มักหมายถึงชาวนา
กระดูกกบกระดูกเขียด..........................เด็ก ๆ กระดูกยังเล็กไม่แข็งแรง
กระดูกออกนอกเนื้อ..............................ลำบากยากเย็นมาก
กระต่ายขาเดียว......................................ยืนกรานไม่ยอมรับ, ยืนยันอยู่อย่างเดียว
กระต่ายสามขา.......................................ยืนกรานไม่ยอมรับ, ยืนยันอยู่อย่างเดียว
กระต่ายตื่นตูม........................................อาการที่ตื่นตกใจง่าย ไม่ทันให้สำรวจได้ถ่องแท้
กระต่ายหมายจันทร์...............................ผู้ชายหมายปองผู้หญิงที่มีฐานะดีกว่า
กระต่ายแหย่เสือ.....................................ล้อเล่นกับอันตราย
กระแตวับ...............................................หน้าเป็น เช่น แต่ล้วนตัว ตอแหลกระแตวับ
กระโถนท้องพระโรง..............................ผู้ที่ใครๆ ก็ใช้ได้ หรือผู้ที่ใคร ๆ พากันรุ่มใช้อยู่คนเดียวเหมือนอย่าง
                                                                 กระโถนท้องพระโรงซึ้งใคร ๆ ก็บ้วนลงที่นั่น
กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย น้ำเต้าอันน้อยจะถอยจม....................................ยุคหรือสมัยที่คนถ่อยจะได้ดี
กระพี้หลบแก่น.........................................ไม่ทำงานตามหน้าที่
กระพือปีก.................................................แสดงความชื่นชมในชัยชนะ
กลิ้งครกขึ้นภูเขา, เข็นครกขึ้นภูเขา.........ทำงานที่ยากเกินความสามารถของตน
กลิ้งทูตล้อมขอน.......................................ตายอย่างอเนจอนาถ
กลมเป็นลูกมะนาว, กลิ้งเป็นลูกมะนาว...............หลบหลีกไปได้ คล่องจนจับตัวไม่ติด (มักใช้ในทางไม่ดี)
กลับตาลปัตร.............................................ผิดความคาดหมายอย่างตรงกันข้าม แบบพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ
กลับเนื้อกลับตัว.........................................เลิกทำชั่วทันมาทำความดี
กลับหน้ามือเป็นหลังมือ, พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ..........เปลี่ยนแปลงหรือทำให้ผิดไปจากเดิมอย่างตรงกันข้าม
กล้าได้กล้าเสีย...........................................ใจป้ำ, ใจนักเลง
กล้านักมักบิ่น.............................................กล้าเกินไปมักจะเป็นอันตราย
กลืน...........................................................ทำให้หายหรือสูญไป เช่น ถูกกลืนชาติ
กลืนไม่เข้าคายไม่ออก..............................พะอึดพะอม
กวนน้ำให้ขุ่น............................................ทำเรื่องราวที่สงบอยู่แล้วให้วุ่นวายขึ้นมา
กวัดไกวไสส่ง...........................................ขออย่าได้พบเห็นเช่นนั้น
กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้.................................ทำอะไรช้าเกินการ จะได้อย่างเสียอย่าง
ก่อแล้วต้องสาน.........................................เริ่มอะไรแล้วต้องทำต่อให้เสร็จ
ก่อหวอด....................................................เริ่มจับกลุ่ม เพื่อทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
ก้อร่อก้อติก...............................................แสดงอาการเจ้าชู้, ทำเป็นเจ้าชู้
กัดก้อนเกลือกิน........................................อดทนยากลำบาก เพราะความจน
กัดหางตนเอง............................................พูดวนไปวนมา
กันดีกว่าแก้...............................................ป้องกันเหตุการณ์ไม่ให้เกิดขึ้น ดีกว่าคอยแก้ไขเมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว
กันเขากันเรา............................................พวกเขาพวกเรา
กันท่า........................................................คอยขัดขวางการกระทำของผู้อื่นไม่ให้ทำงานนั้นๆ ได้สำเร็จ
กาขี้รดหัวตัวเองมองไม่เห็น....................ไม่เห็นความผิดตนเอง
กาคาบพริก...............................................ลักษณะที่คนผิวดำ แต่งด้วยเสื้อสีแดง, ว่าคนดำแต่งแดงสีไม่เข้ากัน
กาตาแววเห็นธนู......................................คนขลาดกลัว
กาในฝูงหงส์............................................คนชั่วในหมู่คนดี
กาหน้าดำ เขาก็จำหน้าได้........................คุ้นเคยกันจนจำได้แม่น
กาเหยี่ยวเฉี่ยวเอาไป...............................สูญหายไป
กาหลงรัง.................................................ผู้ที่ไปหลงติดอยู่ ณ บ้านใดบ้านหนึ่ง แล้วไม่ยอมกลับบ้านของตน
กาฝาก......................................................อาศัยบุคคลอื่นแสวงหาประโยชน์ใส่ตนเอง หรือหมายถึงผู้ที่อาศัยเกาะคนอื่นกิน
ก้ามใหญ่.................................................แสดงท่าทางน่าเกรงขาม
กำขี้ดีกว่ากำตด........................................ได้บ้างดีกว่าไม่ได้อะไรเลย
กำปั้นทุบดิน............................................ส่งเดชอย่างขอไปที, พูดตอบด้วยไม่แน่ใจ, พูดแบบคลุมๆโดยไม่ชี้แจงให้ชัดเจน
                                                                ตอบเพียงให้พ้นหน้าที่
กำปั้นเล็ก................................................มีอำนาจน้อย
กำปั้นโต..................................................มีอำนาจมาก
กำแพงมีหูประตูมีช่อง, กำแพงมีหูประตูมีตา.............การที่จะพูด หรือทำอะไรให้ระมัดระวังแม้จะเป็นความลับเพียงไรก็อาจมีคน
                                                ล่วงรู้ได้
กำมะลอ..................................สำนวนที่เรียกของทำเทียมหรือของเล็กน้อย ทำหยาบๆ ไม่ทนทาน


กรุณาอย่า copy เพื่อไปเป็นการค้า