จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

สำนวนโวหาร หมวด ก

หมวด ก

* ก ไม่กระดิกหู..... ผู้ที่เรียนหนังสือแล้วไม่รู้ อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
* กงเกวียน กำเกวียน..... ใช้เป็นคำอุปมา หมายถึงเวรสนองเวร กรรม
                                 สนองกรรม ทำแก่ผู้อื่นอย่างไร เขาก็ทำ
                                 แก่ตนอย่างนั้น
* กดหัว..... ทำให้หือไม่ขึ้น
* ก้นกระดก..... ลืมตัวเพราะถูกยกยอ
* ก้นถึงฟาก ปากถึงข้าว..... อยู่กินสุขสบาย
* ก้นรั่ว..... สุรุ่ยสุร่าย มีทางเสียหายมาก
* ก้นหม้อข้าวไม่ทันดำ..... ผัวเมียอยู่กินกันไม่นาน
* ก้นหนัก..... ไม่ยอมกลับง่าย ๆ
* ก้นไปหาร่อง..... จะขอความช่วยเหลือจากใครก็ต้องไปหาเขาถึง
                         ที่พักของเขา
* กบในกะลาครอบ.....มองเห็นโลกในวงแคบ
* กบเลือกนาย.....ต้องการเปลี่ยนผู้บังคับบัญชาเรื่อย ๆ, เป็นคนช่างเลือก
                        จนโดนดี คือ เลือกจนได้สิ่งเลวกว่าเดิม
* กบเฝ้ากอบัว.....โง่ อยู่ใกล้แต่ไม่รู้ค่าของที่ดี
* ก้มหัว..... ยอมอ่อนน้อม ยอมรับนับถือ
* ก้มนักมักซวน..... ทำอะไรเกินความพอดี มักพลาดพลั้ง
* ก้มหน้า..... จำทน เช่น ต้องก้มหน้าทำตามประสายาก
* ก้มตา..... ทำโดยไม่มองดูสิ่งอื่น, ทำโดยตั้งใจ เช่น ้มหน้าก้มตา
                 ทำไปจนกว่าจะสำเร็จ
* กรวดน้ำ, กรวดน้ำ คว่ำกะลา, กรวดน้ำ คว่ำขัน.....ตัดขาดไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย
* กระจอกงอกง่อย.....ยากจนเข็ญใจ
* กระชังหน้าใหญ่..... จัดจ้าน หรือคนที่ชอบออกหน้ารับเสียเอง
* กระชุ่มกระชวย..... มีอาการกระปรี้กระเปร่า, คล่องแคล่ว
                           ดูยังหนุ่มยังแน่น
* กระเชอก้นรั่ว..... สุรุ่ยสุร่าย, ไม่รู้จักเก็บหอมรอมริบ,
                         ชขาดการประหยัด
* กระดิกกระเดี้ย..... ไม่ใคร่ไหว เช่น หากินกระดิกกระเดี้ย
* กระดี่ได้น้ำ..... อาการแสดงความดีอกดีใจตื่นเต้นจนตัวสั่น
* กระดูกขัดมัน..... ยาก, เข้มงวด, ตระหนี่
* กระดูกแข็ง..... ไม่ตายง่าย ๆ
* กระดูกร้อง..... ตายแล้วมีผู้เรียกร้องความเป็นธรรมให้
* กระดูกร้องได้..... ผลสะท้อนของาตกรรมที่ทำให้จับตัวผู้กระทำผิดมา
                          ลงโทษได้ คล้ายกับว่า กระดูกของผู้ตายร้องบอก
* กระดูกสันหลังของชาติ... ส่วนสำคัญที่สุดของชาติ มักหมายถึงชาวนา






แหล่งข้อมูลอ้างอิง : สำนวนโวหารไทยและคำเปรียบเทียบ
โดย : แมงก่ำเบ้อ

(มีเพิ่มเติม)
กรุณาอย่า copy เพื่อนำไปเป็นการค้า

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

คำพ้อง หมวด ฃ

ฃ.................................พยัญชนะตัวที่ ๓ พวกอักษรสูง ฐานเสียงเกิดจาก
                                   คอ อ่านว่า ขอ "ขวด" เดี๋ยวนี้ไม่ใช้เขียนคำแล้ว

ฃ................................พยัญชนะตัวที่ ๒ พวกอักษรสูง ฐานเสียงเกิดจาก
                                   คอ อ่านว่า ขอ "ไข่" ใช้สะกดในแม่กก ในคำที่มาจาก
                                   บาลีและสันสกฤต





------------------------------------------
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : พจนานุกรมคำพ้องไทย
โดย : แมงก่ำเบ้อ






กรุณาอย่า copy เพื่อนำไปเป็นการค้า

คำพ้อง หมวด ข

ขอ................................น. ไม้หรือเหล็กที่งอๆ สำหรับชัก, เกี่ยว, แขวน
                                    หรือสับ, ตาขอก็เรียก
ขอ................................ก. วิงวอน, พูดให้เขาให้สิ่งที่ต้องการ
ขอ................................น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นเหมือนขมิ้นใช้ทำยาสมุนไพรได้


ขด................................ก. ม้วนตัวเป็นวง เช่น ขดลวด, งอหรือทำให้งอ เช่น นอนขด
ขด................................ก. ขยด, เขยิบ, กระเถิบ
ขด................................น. ลักษณะนามเรียกของที่เป็นวง ๆ ว่า ขด


ขน................................น. เรียกสิ่งที่เป็นเส้นขึ้นตามผิวหนังคน, สัตว์ พืช
ขน................................ก. เอาสิ่งของมีจำนวนมากบรรทุก หรือหาบหามจาก
                                     แหล่งหนึ่งไปอีกแห่งหนึ่ง
ขน................................น. ชื่อหญ้าชนิดหนึ่งคล้ายหญ้าปล้้อง, หญ้ากรอบของ
                                     สิ่งของเพื่อยึดให้แน่น


ขัง.................................ก. ให้อยู่ในที่ล้อม, กัก, เก็บไว้

ขังขอก..........................น. ชาวเมือง

ขัณฑ์(ขัน).....................น. ภาค, ตอน, ท่อน, ส่วน, ก้อน, ชิ้น, เขตขัณฑ์
ขัณฑสกร(ขันทดสะกอน)..น.สิ่งที่ให้รสหวานเหมือนน้ำตาล, ดีน้ำตาล,
                                      เครื่องยาไทยชนิดหนึ่งคล้ายน้ำตาลกรวด
ขัณฑสีมา.....................น. เขตแดนส่วนหนึ่ง ๆ, เขตแดน, พรมแดน

ขัด................................ก. ทำให้ติดขวางไว้ไม่ให้หลุดออก, ไม่ทำตาม,
                                     ฝ่าฝืน, ขืนไว้, แย้งกันไม่ลงรอยกัน, ถูให้เกลี้ยง
                                     ถูให้ผ่องใส, ไม่ค่อยดี, ฝืดเคืองไม่ปกติ
ขัดเกลา........................ก. ทำให้เกลี้ยงเกลา, ทำให้เรียบร้อย, อบรมสั่งสอน
ขัดขวาง.......................ก. ทำให้ไม่สะดวก, ติดขัด
ขัดข้อง.........................ก. ไม่ยอมให้ทำ, ไม่ตกลงด้วย, ไม่ยินยอม
ขัดขืน...........................ก. ไม่ประพฤติตาม, ไม่ทำตาม
ขัดเขิน..........................ก. กระดากอาย, เขินอาย
ขัดคอ...........................ก. พูดแย้งเข้ามา, ไม่ให้ทำได้สะดวก
ขัดเคือง........................ก. โกระเพราะถูกขัดใจ
ขัดแค้น.........................ก. เจ็บใจอยู่ไม่หาย
ขัดจังหวะ......................ก. แทรกเข้ามาเพื่อไม่ให้พูดหรือทำได้โดยสะดวก
ขัดใจ............................ก. โกระเพราะทำไม่ถูกใจ, ไม่ยอมทำตามใจ
ขัดดอก.........................ก. ส่งลูกหรือเมียให้รับใช้แทนการส่งดอกเบี้ย
ขัดตาทัพ......................ก. ยกทัพไปตั้งชั่วคราวป้องกันไม่ให้ข้าศึกรุกเข้ามา,
                                     แก้ไขไปพลาง ๆ ก่อน
ขัดแตะ.........................ก. เรือนที่มีฝาเป็นไม้ไผ่ซีดสอดขัดกันกับลูกตั้ง
ขัดเบา..........................ก. ถ่ายปัสสาวะไม่ค่อยออกเพราะระบบขับถ่าย










(มีเพิ่มเติม)

คำพ้อง อักษร ก

กอ...........................น. กลุ่มต้นไม้ที่เกิดจากเหง้าเดียวกัน เช่น กอไผ่, หมู่เหล่า
กอ...........................น. ต้นไม้ชนิดหนึ่ง (ในพวก Oaks และ Chestnuts)
                                บางทีเรียกว่าต้นก่อ, มีแถบภาคใต้ ลักษณะใบมีขอบเป็นหยักๆ
                                มีหลายชนิด บางชนิดผล มีเมล็ด กินได้ รสมัน

กฎ...........................ก. คำโบราณ แปลว่า จดไว้เป็นหลักฐาน ตราไว้ เช่น กฎบัญชี
                                กฎหมาย
กฎ...........................น. ข้อกำหนด ข้อบัญญัติ เช่น กฎให้ไว้ กฎเกณฑ์ กฎธรรมดา

กก...........................น. พันธุ์ไม้ชนิดหนึ่ง ขึ้นอยู่ในที่ชุ่มแฉะ มีหลายชนิด
                                ลักษณะลำต้นกลมหรือสามเหลี่ยมก็มี

ก่อ...........................ก. สร้าง, ทำให้เกิดขึ้น, มีขึ้น
ก่อ...........................น. ต้นไม้ชนิดหนึ่ง ใบมักมีขอบเป็นหยักๆ มีหลายชนิด
                                ปักษ์ใต้เรียกตอ  กอ
ก่อ...........................น. ปลาช่อน

ก็..............................จึง, ย่อม, แล้ว  เช่น ตั้งใจทำก็สำเร็จ
ก็..............................นิ, ไขความ, เน้นความให้ชัดเจน เช่น ก็ดี, ก็ได้, ก็ตาม

ก้อ...........................ว. แสดงอาการเจ้าชู้ เช่น ไก่ก้อ
ก้อ...........................น. ชนชาวเขาจำนวนหนึ่ง มีอยู่ทางภาคเหนือของไทย
                                คล้ายพวกมูเซอ, อีก้อก็เรียก

ก๊อ...........................น. ต้นทับทิม

กร้อ.........................น. เครื่องสายยาชัน คล้ายปุ้งกี๋แต่เล็กกว่า

กล้อ........................น. เรือโกลน
กล้อ........................ว. กลม
กล้อ........................ก. ทำให้กลม, (ถิ่น-ปักษ์ใต้) โคลง (เรือกล้อ หรือเรือโคลง)
กล้อ........................น. เครื่องสานยาชันชนิดหนึ่ง

ก็ได้.........................นิ. เน้นน้ำหนักเท่านั้น เช่น ไปก็ได้ ไม่ไปก็ได้
ก็ได้.........................นิ. แสดงน้ำหนักเท่ากัน เช่น ท่านจะไปก็ได้

กก...........................น. ชื่ออักษรที่มีตัว ก, ข, ค, ฆ, สะกด เรียกว่า แม่กก หรือมาตราแม่กก
กก...........................น. โคน, ต้น, ลำต้น เช่น กกหู, กกขา, กกเสา
กก...........................น. พรรณไม้ชนิดหนึ่งขึ้นอยู่ในที่ชุ่มแฉะ มีหลายชนิด ต้นใช้ทอ
                                หรือสานสื่อ
กก...........................ก. แนบไว้กับอกด้วยกิริยาทะนุถนอม ช่น กกลูก กกไข่
กก...........................ก. ตัด, บั่น เช่น กกกิ่ง, กกยอด
กก...........................น. ซอกด้านใน หรือซอกด้านหลังของบานประตูหรือหน้าต่าง
กก...........................น. ชื่อนกเงือกชนิดหนึ่ง

ก๊ก...........................น. พวก, หมู่, เหล่า, กลุ่ม

กง...........................น. ชื่ออักษรที่มีตัว ง. สะกด เรียกว่าแม่กง หรือมาตราแม่กง
กง...........................น. วง, ส่วนรอบของล้อรถ หรือเกวียน
กง...........................น. ไม้รูปโค้งที่ตั้งเป็นโครงเรือ
กง...........................น. ไม้สำหรับดีดฝ้าย มีรุปร่างเหมือนคันธนู
กง...........................น. ปลาชนิดหนึ่งเรียกปลามังกง

กงพัด......................น. กงสำหรับพัดเป็นรูปใบพัดที่หมุนได้
กงพัด......................น. ไม้เหลี่ยมสอดในรูที่เจาะที่โคนเสาเรือนเพื่อกันทรุด

กงสี.........................น. ของกลาง
กงสี.........................น. กองกลางที่ใช้รวมกันสำหรับคนหมู่หนึ่ง ๆ

กช...........................น. ดอกบัว
กฎ...........................ก. จดไว้เป็นหลักฐาน, ข้อกำหนด, ข้อบัญญัติ




(มีเพิ่มเติม)
















อุปมาอุปไมย หมวด อ

หมวด อ


* องอาจเหมือนราชสีห์
* อดได้เป็นพระ
* อดเหมือนแร้ง
* อดเหมือนอดแห้งอดแล้ง (อดอยาก ไม่อุดมสมบูรณ์)
* อ้วนเป็นตุ่มสามโคก
* อ้วนเหมือนหมูตอน
* อ้วนเหมือนตอม่อค้ำยุ้ง
* อ่อนเป็นขี้ผึ้ง
* อ่อนเป็นแป้งเปียก
* อายเป็นนางอาย
* อายเป็นตัวนิ่ม
* อุ้ยอ้ายเป็นคนมีท้อง
* เอวคอดเป็นมดตะนอย

------------------------------------------
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : สำนวนโวหารไทยและคำเปรียบเทียบ
โดย : แมงก่ำเบ้อ



กรุณาอย่า copy เพื่อนำไปเป็นการค้า

อุปมาอุปไมย หมวด ห

หมวด ห

* หอบเหมือนหมา
* หนาเหมือนครก
* หนาเหมือนหนังแรด
* หน้าขาวเหมือนวอก
* หน้าขาวเหมือนไข่ปอก
* หน้าขาวเหมือนตกกระด้งแป้ง
* หน้าตาบ้องแบ๊วเหมือนแมวคราว
* หน้างอเป็นกระจ่า
* หน้างอเป็นม้าหมากรุก
* หน้าบานเป็นจานเชิง
* หน้าบานเป็นกระจาด
* หน้าบานเป็นดอกเห็ด
* หน้าหนาเหมือนถนนราดยางมะตอย
* หน้าตายู่ยี่เหมือนยักษ์ขมูขี
* หน้าเป็นมัน
* หน้าบูดเป็นตูดเป็ด
* หัวหดเหมือนเต่า
* หัวใจเต้นดังเหมือนตีกลอง
* หิวเหมือนนายพรานหิวเหยื่อ
* หิวจนลมออกหู
* หิวจนตาลาย
* หึงเป็นบ้า
* หึงเป็นลมเพชรหึง
* หูยานเป็นพระพุทธ
* หูกางเหมือนใบเรือ
* หูตาเป็นสับปะรด
* หูเหมือนหูเข้าพรรษา (ทำเป็นไม่ได้ยิน)

----------------------------------------
แหล่งอ้างอิงข้อมูล : สำนวนโวหารไทยและคำเปรียบเทียบ
โดย :  แมงก่ำเบ้อ



กรุณาอย่า copy เพื่อนำไปเป็นการค้า

อุปมาอุปไมย หมวด ว - ส

หมวด ว


* วิ่งเป็นรถไฟด่วน
* วิ่งให้พล่านเหมือนหมาถูกน้ำร้อน
* แวววาวเหมือนเพชร
* ไวเหมือนกระรอก
* ไวไฟเหมือนเบนซิน

หมวด ส

* สวยราวกับนางฟ้า
* สวยเหมือนดาราภาพยนตร์
* สว่างราวกับกลางวัน
* สั่นเป็นเจ้าเข้า
* ส่ายเป็นงูเลื้อย
* ส่ายเป็นว่าวจุฬา
* สำรวยเหมือนชาววัง
* สุกเหมือนทองคำธรรมชาติ
* เสียงเท่าฟ้า หน้าเท่ากลอง
* เสียงเหมือนแมลงหวี่
* เสียงแหบเหมือนเป็ดตัวผู้
* เสียงแหบเหมือนเป็ดเทศ
* เสียงดีเหมือนนกคีรีบูน
* เสียงดีเหมือนนกไนเติงเกล
* ใสเหมือนน้ำล้างหัวล้าน
* ใสเหมือนตาตั๊กแตน

-------------------------------------
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : สำนวนโวหารไทยและคำเปรียบเทียบ
โดย : แมงก่ำเบ้อ



กรุณาอย่า copy เพื่อนำไปเป็นการค้า

อุปมาอุปไมย หมวด ย - ล

หมวด ย

* ยกมือสลอนเป็นฝักถั่ว
* แย่งกันเหมือนมอญแย้งศพ
* แย่งกันเหมือนแร้งลง
* แย่งกันเหมือนอีแร้งกินหมาเน่า

หมวด ร

* ร้อนใจเหมือนไฟสุม
* ร้อนเหมือนร้อนอาสน์
* รัวเหมือนข้าวตอกแตก
* รั่วเหมือนตะกร้า
* ราบเป็นหน้ากลอง, ราบพนาสูร
* ร่วนเป็นไข่เค็ม
* รูปร่างเหมือนอึ่งอ่าง
* รูปร่างเหมือนไหกระเทียมต่อขา
* รูปร่างเหมือนผีตายซาก
* เร็วเหมือนสายฟ้าแลบ

หมวด ล

* ลามเหมือนขี้กลาก
* ลายมือเป็นไก่เขี่ย
* ลายเหมือนตุ๊กแก
* ล่ำเป็นมะขามข้อเดียว
* ลุกลามเป็นไฟลามทุ่ง
* เล็กเท่าเม็ดงา, ขี้ผง
* ลิ้นเป็นสองแฉก

------------------------------------------
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : สำนวนโวหารไทยและคำเปรียบเทียบ
โดย : แมงก่ำเบ้อ



กรุณาอย่า copy เพื่อนำไปเป็นการค้า

อุปมาอุปไมย หมวด พ - ม

หมวด พ

* พุงเป็นกระสอบ
* พูดรัวเป็นแขกกลิ้งค์
* พูดรัวราวกับลิ้นลังกา
* พูดรัวราวกับยิงปืน
* พูดจาไม่แน่เหมือนแช่แป้ง
* พูดจาเป็นนกแก้ว นกขุนทอง
* พูดคล่องดังล่องลำธาร
* พูดเป็นมะนาวไม่มีน้ำ

หมวด ฟ

* ฟันขาวราวไข่มุก
* ฟันใหญ่เหมือนจอบ
* ฟันฟางเหมือนคนแก่

หมวด ม

* มาเป็นพายุบุแคม
* มาเป็นไทยไปเป็นฝรั่ง
* มีปากเสียเปล่าเหมือนเต่าเหมือนหอย
* มืดเหมือนเข้าถ้ำ
* มือเหนียวเหมือนตุ๊กตา
* หมุนเป็นกังหัน
* หมุนเป็นลูกข่าง

------------------------------------
แหล่งอ้างอิงข้อมูล : สำนวนโวหารไทยและคำเปรียบเทียบ
โดย : แมงก่ำเบ้อ



กรุณาอย่า copy เพื่อนำไปเป็นการค้า

อุปมาอุปไมย หมวด ป - ฝ

หมวด ป

* เปรียบเป็นกระต่ายป่า
* เปรี้ยวอย่างมะนาว
* ปั้นเรื่องเหมือน ปั้นน้ำเป็นตัว
* ปากเหมือนชักยนต์
* ปากเหมือนกระจับ
* ปากเหมือนฆ้องปากแตก
* ปากแดงเหมือนลิ้นจี่
* ปากแดงเหมือนกินหมาก
* ปากแดงเหมือนกินเลือด
* ปากเหมือนตูดไม่มีหูรูด

หมวด ผ

* ผมดำเหมือนกาน้ำ
* ผมหยิกเหมือนลูกคลื่น
* ผมหยิกเหมือนอ้ายเงาะ
* ผอมเหมือนขี้ยา
* ผอมเป็นโครงกระดูกเดินได้
* ผอมเหมือนไม้จิ้มฟัน
* ผิวเรียบเหมือนส้มเกลี้ยง
* ผิวหยาบเหมือนมะกรูด
* ผิวหยาบเป็นกระดาษทราย
* ผิวเหลืองเหมือนทาขมิ้น
* เผ็ดเหมือนขิง

หมวด ฝ

* ฝนตกยังกะฟ้ารั่ว
* ฝอยจนน้ำลายแตกฟอง

--------------------------------------
แหล่งข้อมูลอ้างอิง :  สำนวนโวหารไทยและคำเปรียบเทียบ
โดย : แมงก่ำเบ้อ




กรุณาอย่า copy เพื่อนำไปเป็นการค้า

อุปมาอุปไมย หมวด ท - บ

หมวด ท

* ทำเป็นปลิงสูบเลือด
* ทำตัวเป็นกาฝาก
* ทำตัวเป็นบ่างช่างยุ
* ทื่อเป็นท่อนไม้
* ทื่อเป็นสากกระเบือ
* ทื่อเหมือนสันขวาน
* ทื่อเหมือนมีดเป็นสนิม

หมวด น

* นวลเหมือนพระจันทร์
* น่องเหมือนปลีกล้วย
* น่องทู่เหมือนต้นกล้วย
* นอนเป็นตาย
* นอนกินบ้านกินเมือง
* นั่งเป็นหักหลักหัวตอ
* นั่งนิ่งเป็นตุ๊กตา

หมวด บ


* บางเป็นกระจก
* บางเหมือนผ้ากรอง
* บานเป้นดอกบัว
* บานเป็นจานเชิง (ใช้กับหน้า)
* บุ่มบ่ามเหมือนคนบ้า
* เบียดจนตัวลีบ
* เบื่อเป็นยารุ
* แบนเป็นกล้วยทับ (กล้วยปิ้ง)

----------------------------------------
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : สำนวนโวหารไทยและคำเปรียบเทียบ
โดย : แมงก่ำเบ้อ






กรุณาอย่า copy เพื่อนำไปเป็นการค้า

อุปมาอุปไมย หมวด ด - ถ

หมวด ด


* ดังอย่างกับทุบมะพร้าว
* ดังเหมือนฟ้าผ่า
* ดุเหมือนเสือ
* ดุเหมือนหมาแม่ลูกอ่อน
* ดำเหมือนนิโกร
* ดำเหมือนตับเป็ด
* ดำเหมือนดินหม้อ
* ดำเหมือนเหนี่ยง
* ดำเหมือนตอตะโก
* เดินเหมือนนักเลงโต
* เดินโซเซเหมือนงู

หมวด ต


* เตี๊ยเหมือนไหกระเทียมต่อขา
* โตเป็นวัวเป้นควาย
* โตเท่าภูเขาเลากา
* โตเป็นพักโตเป็นแฟง

หมวด ถ

* ถุกปั่นหัวเป็นจิ้งหรีด
* ถูกเป็นกล้วยน้ำว้า
* ถูกเป็นขี้

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : สำนวนโวหารไทยและคำเปรียบเทียบ
โดย : แมงก่ำเบ้อ
กรุณาอย่า copy เพื่อนำไปเป็นการค้า