จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ที่มาของสำนวนไทย

ที่มา

..........สำนวนไทย มีสาเหตุที่เกิดหลายสาเหตุ สรุปสาระสำคัญดังนี้

๑. เกิดจากธรรมชาติ ตัวอย่าง

     * ลุกไม้หล่นไม่ไกลต้น
     * ฝนตกไม่ทั่วฟ้า
     * คลื่นใต้น้ำ
     * ข้าวคอยฝน
     * น้ำลอดใต้ทราย
     * น้ำซึมบ่อทราย
     * ใบไม้ร่วงจะออกช่อ ข้าวรัดกอจะออกรวง

๒. เกิดจากสัตว์ ตัวอย่าง
     * หมาหยอกไก่
     * ไก่แก่แม่ปลาช่อน
     * งูกินหาง
     * จระเข้ฟาดหาง
     * เสือซ่อนเล้บ
     * ปลากระดี่ได้น้ำ
     * เต่าใหญ่ไข่กลบ
     * ไก่แก่หนังเหนียว

๓. เกิดจากของกินของใช้ ตัวอย่าง

     *. ผ้าขี้ริ้วห่อทอง
     * บ้านช่องห้องหอ
     * ข้าวแดงแกงร้อน

๔. เกิดจากการกระทำ ความประพฤติ การปฏิบัติและการกินอยู่ของคน ตัวอย่าง
     * หาเช้ากินค่ำ
     * ปืดทองหลังพระ
     * จับให้มั่น คั้นให้ตาย
     * ล้มหมอนนอนเสื่อ
     * แล่เนื้อเอาเกลือทา

๕. เกิดจากอวัยวะ ตัวอย่าง
     * ตาไม่มีแวว
     * ใจลอย
     * คอเป็นเอ็น
     * มืออยู่ไม่สุข
     * ก้างขวางคอ


๖. เกิดจากแบบแผนประเพณี และวัฒนธรรม ตัวอย่าง
     * ตื่นก่อนนอนทีหลัง
     * ช้างเท้าหลัง
     * เข้าตมตรกออกตามประตู


๗. เกิดจากนิยาย นิทาน ตำนาน หรือประวัติศาสตร์ ตัวอย่าง
     * ฤาษีแปลงสาร
     * กบเลือกนาน
     * กระต่ายหมายจันทร์
     * ดอกพิกุลจะร่วง

๘. เกิดจากการละเล่น กีฬา หรือการแข่งขัน ตัว อย่าง
     * สุดสายป่าน
     * รุกฆาต
     * ไก่รองบ่อน
     * ไม่ดูตาม้าตาเรือ
     * ว่าวติดลมบน

๙. เกิดจากศาสนา ตัวอย่าง
     * ผ้าเหลืองร้อน
     * ขนทรายเข้าวัด
     * กรวดน้ำคว่ำขัน


แหล่งข้อมูล : หนังสือสำนวนโวหารไทยและคำเปรียบเทียบ
ผู้แต่ง : ผศ.ดร.เรืองอุไร อินทรประเสริฐ - เอนก อัครบัณฑิต
จัดทำโดย : แมงก่ำเบ้อ (นามแฝง)
(ขออนุญาตนำผลงานเผยแพร่และขอบพระคุณท่านอาจารย์ มา ณ ที่นี้ด้วย)
--------------------------------------------------------------


กรุณาอย่า copy เพื่อไปเป็นการค้า